Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 277 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 277 หรือ มาตรา 277 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 277 ” หรือ “มาตรา 277 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
              ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
              ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
              ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงหรือกระทำกับเด็กชายในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
              ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทำโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีกระทำต่อเด็กซึ่งมีอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นยินยอม ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจะพิจารณาให้มีการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กผู้ถูกกระทำหรือผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กแทนการลงโทษก็ได้ ในการพิจารณาของศาล ให้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อมของผู้กระทำความผิดและเด็กผู้ถูกกระทำ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำความผิดกับเด็กผู้ถูกกระทำ หรือเหตุอื่นอันควรเพื่อประโยชน์ของเด็กผู้ถูกกระทำด้วย

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


              ในกรณีที่ได้มีการดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กผู้ถูกกระทำหรือผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กแล้ว ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าการคุ้มครองสวัสดิภาพดังกล่าวไม่สำเร็จ ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ในการพิจารณาของศาล ให้คำนึงถึงเหตุตามวรรคห้าด้วย
ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๗๗ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
              (๑) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
              (๒) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๗๖ วรรคสาม หรือมาตรา ๒๗๗ วรรคสี่ เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
              (๑) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
              (๒) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 277” หรือ “มาตรา 277 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2314/2565
ที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปี โดยใช้นิ้วสอดเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นการกระทำไม่สมควรทางเพศต่อผู้เสียหายที่ 1 นั้น เมื่อกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบัญญัติให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำอนาจาร จึงประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยการล่วงล้ำตามมาตรา 279 วรรคห้า ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมภายหลังจำเลยกระทำความผิด อันเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติภายหลังกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามมาตรา 3 ต้องลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยการล่วงล้ำตามมาตรา 279 วรรคห้า ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า แต่ความผิดฐานนี้มีระวางโทษเท่ากับความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีตามมาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) ในส่วนระวางโทษจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ศาลต้องกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิด มิใช่ตามมาตรา 279 วรรคแรก (เดิม)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5500/2564
จำเลยบอกให้ บ. ไปเรียกผู้เสียหายกับ พ. มาที่ห้องเช่าซึ่งจำเลยเข้าไปนอนรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อถึงห้องเช่า บ. กระชากตัว พ. เข้าไปในห้องแล้วหยิบไม้หน้าสามขึ้นมาถือขู่ ขณะเดียวกันจำเลยจับคอผู้เสียหายกระชากตัวไปยังที่นอนก่อนที่จะลงมือข่มขืนกระทำชำเรา พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดว่าจำเลยกับ บ. มีเจตนาร่วมกันที่จะกระทำความผิดต่อผู้เสียหายและ พ. มาตั้งแต่แรก ห้องที่เกิดเหตุเป็นห้องโล่งขนาดเล็กมีเพียงที่นอนปูไว้ที่พื้น ส่วนไม้หน้าสามมีขนาดใหญ่เท่าท่อนแขนของคนอ้วน เมื่อ บ. กระชากตัว พ. เข้าไปในห้องแล้วก็หยิบไม้หน้าสามขึ้นมาขู่ทันที แสดงว่าไม้หน้าสามวางอยู่ในห้องก่อนแล้ว จำเลยเข้าไปนอนรอในห้องที่แคบเช่นนั้น ย่อมเห็นหรือรู้ถึงการมีอยู่ของไม้หน้าสาม หลังจาก บ. หยิบไม้หน้าสามมาขู่ จำเลยก็เริ่มข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย โดย บ. ถือไม้หน้าสามคอยคุ้มกันอยู่ตลอด เพื่อมิให้ พ. เข้ามาขัดขวางการกระทำความผิดของจำเลย ทั้งเมื่อจำเลยข่มขืนกระทำชำเราเสร็จ บ. กับจำเลยก็หลบหนีออกจากห้องที่เกิดเหตุไปพร้อมกัน การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการกระทำชำเราผู้เสียหายโดยใช้อาวุธ


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2564
ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยคบคิดกับพวกที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ทั้งขณะพวกของจำเลยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 จำเลยไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์และมิได้ร่วมกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการกระทำความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี อันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง แต่การที่จำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปให้พวกของจำเลยกระทำชำเรา และมิได้ช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 หรือห้ามปรามพวกของจำเลย เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่พวกของจำเลยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ก่อนกระทำความผิด จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ศาลลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ เพราะโทษเบากว่าความผิดฐานเป็นตัวการ และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท