Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 271 หรือ มาตรา 271 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 271 ” หรือ “มาตรา 271 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]“

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 271” หรือ “มาตรา 271 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12268/2558
ความผิดฐานร่วมกันผลิตปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้าโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานร่วมกันผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้าแต่ไม่นำมาขึ้นทะเบียน ฐานร่วมกันขายปุ๋ยเคมีที่ผลิตขึ้นเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานร่วมกันขายปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นเพื่อการค้าแต่ไม่นำมาขึ้นทะเบียน กับฐานร่วมกันโฆษณาขายปุ๋ยเคมีที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นปุ๋ยที่ได้มาตรฐานเหล่านี้ ลักษณะของความผิดและการกระทำความผิดในแต่ละข้อหาที่โจทก์บรรยายฟ้องมาอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ และบางข้อหาเป็นความผิดสำเร็จในตัวเอง และถึงแม้ปุ๋ยอินทรีย์ตามคำฟ้องข้อ 2 และ 3 บางส่วน จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์จำนวนเดียวกัน แต่คำฟ้องข้อ 3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องว่ามีปุ๋ยอินทรีย์จำนวนหนึ่งจำนวนเท่าใดไม่ปรากฏแน่ชัดซึ่งเป็นปุ๋ยคนละจำนวนกับคำฟ้องข้อ 2 ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ส่วนเจตนาและความมุ่งหมายเดียวกันเพื่อนำออกจำหน่ายของจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น เป็นเจตนาที่จะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ของกลางที่ได้มาจากการกระทำความผิด มิใช่เจตนาในการกระทำความผิด


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2555
การบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 271 โจทก์ต้องบรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยทั้งสามให้ครบองค์ประกอบความผิดตามที่มาตราดังกล่าวบัญญัติไว้ และบรรยายถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำความผิดนั้นรวมทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสามเข้าใจข้อหาได้ดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ด้วย กล่าวคือ โจทก์ต้องบรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสามขายของสิ่งใด โดยหลอกลวงด้วยวิธีใดให้โจทก์ผู้ซื้อหลงเชื่อว่าของนั้นมีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด หรือสภาพของนั้นเป็นอย่างไร หรือคุณภาพของนั้นเป็นอย่างไร หรือปริมาณแห่งของนั้นว่ามีจำนวนเท่าใดซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงของนั้นมีแหล่งกำเนิดจากที่ใดหรือมีสภาพหรือคุณภาพเป็นอย่างไรหรือมีปริมาณจำนวนเท่าใด แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องยืนยันข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสามส่งมอบสินค้าผิดรุ่นไม่ตรงตามที่โจทก์สั่งซื้อ มิใช่การส่งมอบสินค้าตรงกับรุ่นที่โจทก์สั่งซื้อแต่สินค้านั้นเป็นสินค้าปลอมแต่อย่างใด มูลคดีที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นมูลคดีแพ่ง คดีโจทก์จึงไม่มีมูลเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2553
คำพิพากษาในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ฐานจำเลยหลอกลวงขายสินค้าเครื่องพิมพ์ดีดแก่โจทก์ และขอให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำนวน 55,440 บาท โดยให้จำเลยรับมอบเครื่องพิมพ์ดีดคืนไปซึ่งศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลย และให้จำเลยชำระเงินจำนวน 55,440 บาท แก่โจทก์ โดยรับมอบเครื่องพิมพ์ดีด 12 เครื่องคืนไปทั้งหมด เป็นคำพิพากษาที่พิพากษาไปตามสภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นคดีอาญาและมีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์อันเนื่องมาจากการกระทำผิดทางอาญาที่ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินค่าเสียหายในมูลละเมิด โดยบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน 55,440 บาท เป็นสำคัญ แม้จะมีคำพิพากษาให้จำเลยรับมอบเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 12 เครื่อง คืนไปด้วยก็ตาม แต่ก็มิได้พิพากษากำหนดให้เป็นเงื่อนไขว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเครื่องพิมพ์ดีดแก่จำเลยในลักษณะการชำระหนี้ต่างตอบแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาในส่วนที่บังคับให้จำเลยชำระเงิน โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับคดีจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โดยไม่ต้องคำนึงถึงกรณีการรับมอบคืนเครื่องพิมพ์ดีดแต่อย่างใด
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท