Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 270 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 270 หรือ มาตรา 270 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 270 ” หรือ “มาตรา 270 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งเครื่องชั่ง เครื่องตวง หรือเครื่องวัด ที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้า หรือมีเครื่องเช่นว่านั้นไว้เพื่อขาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐] “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 270” หรือ “มาตรา 270 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3725/2535
โจทก์มีผู้เสียหายเพียงปากเดียวเบิกความลอย ๆ โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน นอกจากนี้ในชั้นจับกุมชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การรับสารภาพเฉพาะฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ส่วนฐานใช้อาวุธปืนในการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายและฐานชิงทรัพย์จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด อีกทั้งปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ตรวจมือขวาของจำเลยแล้วบันทึกไว้ว่านิ้วมือขวาของจำเลยไม่สามารถเหยียดตรงได้เนื่องจากจำเลยเคยถูกยิงที่แขนขวาเส้นประสาทขาดพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าขณะข่มขืนกระทำชำเราจำเลยได้ใช้อาวุธปืนขู่เข็ญ และชิงทรัพย์ผู้เสียหาย.


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357 - 358/2535
จำเลยทั้งสามตกลงทำการชั่งเศษทองแดงที่จำเลยทั้งสามตกลงซื้อจากโจทก์ร่วมรวม 13 ครั้ง ต่างวันเวลากันด้วยเครื่องชั่งที่ผิดอัตราซึ่งถูกแก้ไขโดยเจตนาลดเครื่องชั่งทำให้ได้เศษทองแดงเกินไป เป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 270และพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31หลายกรรมต่างกัน รวม 13 ครั้ง แต่การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามแต่ละครั้งนั้น จำเลยทั้งสามมีและใช้เครื่องชั่งในวันเวลาเดียวกัน เท่ากับจำเลยทั้งสามมีเจตนาเดียวกันเป็นกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 270 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ตามมาตรา 90


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2532
จำเลยมีเครื่องชั่งไว้ชั่ง ซื้อ ข้าวเปลือกจากผู้ขาย การที่เครื่องชั่งของจำเลยชั่ง วัตถุที่มีน้ำหนักจริง 500 กิโลกรัม ได้น้ำหนัก 502 กิโลกรัม ทำให้ผู้ขายได้ น้ำหนักเพิ่มขึ้น 2 กิโลกรัมถือ ไม่ได้ว่าจำเลยมีเครื่องชั่งดังกล่าวไว้เพื่อเอาเปรียบในการค้าตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 270 คงมีความผิดตาม พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31,38 เท่านั้น.

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท