Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 267 หรือ มาตรา 267 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 267 ” หรือ “มาตรา 267 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]“

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 267” หรือ “มาตรา 267 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2565
แม้โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกาขอให้กำหนดโทษจําเลยในข้อหาแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ เนื่องจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาฉ้อโกง แต่ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ร่วมเกี่ยวพันกับความผิดข้อหาฉ้อโกงที่โจทก์ร่วมมีสิทธิฎีกา ทั้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หากศาลอุทธรณ์ภาค 9 และศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225คําฟ้องของโจทก์แยกเป็นข้อ ก. และข้อ ข. แต่ใช้วันเวลากระทำผิดเดียวกัน ข้อ ก. ระบุว่า จําเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมว่า จําเลยประสงค์ขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ผู้เสียหายที่ 1 หลงเชื่อจึงทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับจำเลย และมอบเงินให้จําเลย ข้อ ข. ระบุว่า จําเลยแจ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสัญญาขายฝากที่ดินอันเป็นเอกสารราชการว่าที่ดินมีสิ่งปลูกสร้างอันเป็นความเท็จ ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 หลงเชื่อและจดข้อความดังกล่าวลงในหนังสือสัญญาขายฝากที่ดิน เห็นได้ว่าการที่จําเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการตามข้อ ข. เป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการฉ้อโกงตามข้อ ก. อันเป็นการกระทำต่อเนื่องด้วยเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อหลอกลวงเงินจากโจทก์ร่วม จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทจําเลยขายฝากที่ดินให้โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงว่าที่ดินมีสิ่งปลูกสร้าง ความจริงที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานฉ้อโกง และมีคําขอให้จําเลยคืนเงินแก่โจทก์ร่วม เมื่อจําเลยให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาลงโทษจําเลยตามฟ้อง จําเลยจึงต้องคืนเงินเต็มจำนวนแก่โจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ส่วนที่ดินที่จําเลยจดทะเบียนขายฝากให้แก่โจทก์ร่วม จําเลยต้องดำเนินการตามสิทธิของตนเองต่อไป


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2805/2564
แม้โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในโฉนดที่ดิน อันเป็นเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 หรือผู้อื่น โดยไม่ได้บรรยายว่าเอกสารดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน แต่เมื่ออ่านถ้อยคำในฟ้องทั้งหมดแล้วมีความหมายในทำนองว่าโฉนดที่ดินนั้นมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นพยานหลักฐานด้วย ทั้งยังปรากฏตามฟ้องว่าในวันที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในโฉนดที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ใช้โฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันเดียวกันนั้นเอง ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ที่ 1 จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 267 แล้ว


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2563
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งหากโจทก์ประสงค์จะเข้ารับการจัดที่ดินต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรเข้าถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด อีกทั้งที่ดินพิพาทมีการโต้แย้งการครอบครองระหว่างโจทก์และจำเลย และยังไม่ได้มีการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ให้แก่ผู้ใด การที่จำเลยไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดินว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องยาวนาน 35 ปี เพื่อประกอบการขอออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ถึงหากจะเป็นความเท็จ โจทก์ซึ่งยังไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทย่อมไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ จากการกระทำของจำเลย จึงไม่ไช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้อง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท