Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 266 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 266 หรือ มาตรา 266 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 266 ” หรือ “มาตรา 266 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดปลอมเอกสารดังต่อไปนี้
              (๑) เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
              (๒) พินัยกรรม
              (๓) ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบสำคัญของใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้
              (๔) ตั๋วเงิน หรือ
              (๕) บัตรเงินฝาก
              ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท“

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 266” หรือ “มาตรา 266 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2564
จำเลยปลอมเช็คของผู้เสียหายที่ 1 รวม 3 ฉบับ และนำเช็คที่ทำปลอมขึ้นดังกล่าว 2 ฉบับ ไปใช้อ้างต่างกรรมต่างวาระ รวม 3 ครั้ง จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอม รวม 3 กระทง ตามจำนวนครั้งที่นำตั๋วเงินปลอมออกใช้ แต่สำหรับเช็คฉบับเลขที่ 00134343 ซึ่งจำเลยทำปลอมขึ้นนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำออกใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมตั๋วเงินสำหรับเช็คฉบับนี้ตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) ด้วยอีกกระทงหนึ่ง การปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) เป็นความผิดต่างกรรมกับการใช้ตั๋วเงินปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก เพียงแต่มาตรา 268 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ใช้ตั๋วเงินปลอม ซึ่งเป็นผู้ปลอมตั๋วเงินนั้นรับโทษฐานใช้ตั๋วเงินปลอมแต่กระทงเดียว เมื่อจำเลยทำปลอมเช็คฉบับเลขที่ 00134446 และใช้แสดงต่อ ภ. จึงต้องลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก แต่เพียงกระทงเดียวตามมาตรา 268 วรรคสอง แต่เมื่อต่อมาจำเลยใช้เช็คฉบับนี้แสดงต่อ ณ. โดยไม่ได้ปลอมเช็คดังกล่าวขึ้นอีก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมตั๋วเงินตามมาตรา 266 (4) อีก คงมีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2564
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อและมีความเห็นแตกต่างกันนั้น มิได้มีกฎหมายบังคับว่าศาลจำต้องเลือกฟังจากผู้ตรวจพิสูจน์ที่มีอายุงานมากกว่าแต่อย่างใด


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8674/2563
ใบทะเบียนพาณิชย์เป็นเอกสารราชการที่รัฐต้องการควบคุมพาณิชยกิจบางประเภทให้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ทางสถิติและเพื่อทราบหลักฐานการประกอบพาณิชยกิจของผู้ประกอบการค้า อันจะใช้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการพาณิชย์ อุตสาหกรรม และปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น มิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ตามความหมายใน ป.อ. มาตรา 1 (9) การที่จำเลยปลอมใบทะเบียนพาณิชย์และใช้เอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และไม่เป็นการใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท