Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 265 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 265 หรือ มาตรา 265 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 265 ” หรือ “มาตรา 265 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]“

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


1 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 265” หรือ “มาตรา 265 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2530
โจทก์จำเลยต่างรับราชการครูโรงเรียนเดียวกัน วันเกิดเหตุโจทก์ไปถึงโรงเรียนก่อนจำเลยและลงเวลามาทำงานว่า 8.00 นาฬิกา จำเลยลบเวลาที่โจทก์เขียนไว้ออกแล้วเขียนทับลงไปว่า 7.46 นาฬิกา เป็นการแก้ว่าโจทก์มาทำงานเร็วกว่าเดิม และเวลาที่โจทก์เขียนไว้เดิมกับเวลาที่จำเลยเขียนแก้ต่างยังไม่ถึงเวลาปฏิบัติราชการ การเขียนแก้จึงไม่อาจเป็นการโกงเวลาราชการไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ และการแก้ไขเวลาดังกล่าวก็มิใช่การกระทำของโจทก์ โจทก์ไม่อาจถูกลงโทษทางวินัยได้โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 264, 265


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2565
แม้คำฟ้องจะบรรยายความผิดฐานฉ้อโกงมาด้วย แต่การกระทำอันเดียวกันอาจเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือยักยอกฐานหนึ่งฐานใดก็ได้ และเป็นเรื่องในใจของจำเลยว่าจำเลยมีเจตนาปลอมใบส่งของและใบเสร็จรับเงินเพื่อการหลอกลวงให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือเพื่อปกปิดการกระทำความผิดฐานยักยอกของตน กรณีจึงไม่ทำให้จำเลยไม่เข้าใจฟ้องหรือหลงต่อสู้ ทั้งฟ้องของโจทก์ประสงค์ให้ศาลเลือกลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่งเท่านั้นจึงไม่เป็นฟ้องที่ขัดแย้งกันเองหรือเคลือบคลุม ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2564
จำเลยปลอมลายมือชื่อ ธ. ในฐานะผู้แทนนิติบุคคลผู้เสียหายที่ 1 ในสัญญาเงินกู้จำนวน 4,200,000 บาท สัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชีจำนวน 1,800,000 บาท และสัญญามอบสิทธิเรียกร้องเงินฝากเป็นประกันจำนวน 1,800,000 บาท และปลอมลายมือชื่อ ธ. ในฐานะส่วนตัว ในสัญญาค้ำประกันสองฉบับเพื่อค้ำประกันสัญญาเงินกู้ข้างต้น หลังจากนั้นจำเลยนำสัญญาทุกฉบับไปใช้อ้างแสดงต่อพนักงานของโจทก์ร่วมเพื่อขอกู้ยืมเงินในเวลาเดียวกัน ดังนี้ แม้สัญญาดังกล่าวจะเป็นเอกสารคนละฉบับกัน แต่จำเลยทำขึ้นโดยมีเจตนาเดียวกันคือเพื่อมุ่งหมายที่จะให้ได้เงินจากโจทก์ร่วมเป็นหลัก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท