Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 261 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 261 หรือ มาตรา 261 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 261 ” หรือ “มาตรา 261 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลงสิ่งใด ๆ ซึ่งระบุไว้ในมาตรา ๒๕๔ มาตรา ๒๕๘ หรือมาตรา ๒๕๙ หรือมีเครื่องมือหรือวัตถุเช่นว่านั้นเพื่อใช้ในการปลอมหรือแปลง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐] “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 261” หรือ “มาตรา 261 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2554
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 ก. และ 1 ข. ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชปลอม ส่วนฟ้องในข้อ 1 ค. โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมฉบับเดิมเท่านั้น มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการขึ้นใหม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องข้อ 1 ค. จึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมฐานเดียวตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 266 (1) เท่านั้น


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2536
แบบใบอนุญาตขับรถเป็นเอกสารราชการซึ่งเจ้าพนักงานได้จัดทำขึ้นตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) ผู้ใดจะทำขึ้นเองไม่ได้การที่จำเลยพิมพ์แบบใบอนุญาตขับรถขึ้นเอง โดยปรากฏข้อความบางส่วนให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าเป็นแบบใบอนุญาตของทางราชการที่แท้จริง แม้ยังไม่กรอกข้อความอื่นลงไปก็เป็นการปลอมข้อความบางส่วนลงไปแล้วจึงเป็นการปลอมเอกสารราชการ จำเลยปลอมแสตมป์ที่ใช้สำหรับการภาษีอากรอันเป็นความผิดตามมาตรา 254 และจำเลยมีเครื่องมือหรือวัตถุเพื่อใช้ในการปลอมอันเป็นความผิดตามมาตรา 261 ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 254 ได้เพียงกระทงเดียวตามมาตรา 263 แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง,225


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2499
ผู้ตายมีครรภ์แล้วยอมให้จำเลยรีดลูกให้แท้ง จำเลยบีบกดท้องผู้ตายจนบุตรในครรภ์ศรีษะเหลว โลหิตในมดลูกแตก ผู้ตายคอและสันหลังเขียวเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมมีผิดตาม ก.ม.อาญา ม.251
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท