Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 258 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 258 หรือ มาตรา 258 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 258 ” หรือ “มาตรา 258 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งตั๋วโดยสารซึ่งใช้ในการขนส่งสาธารณะ หรือแปลงตั๋วโดยสารซึ่งใช้ในการขนส่งสาธารณะให้ผิดไปจากเดิม เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีมูลค่าสูงกว่าจริง หรือลบ ถอน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ แก่ตั๋วเช่นว่านั้น ซึ่งมีเครื่องหมายหรือการกระทำอย่างใด แสดงว่าใช้ไม่ได้แล้วเพื่อให้ใช้ได้อีก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]“

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 258” หรือ “มาตรา 258 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2505
จำเลยกับครอบครัวใช้ทางเดินในที่ดินของโจทก์ไปออกทางสาธารณะเกินกว่า 10 ปีแล้ว โดยมีช่องประตูรั้วสำหรับเข้าออกบ้าน จำเลยได้ ต่อมาโจทก์ทำรั้วใหม่ตามแนวรั้วเดิมที่ผุพัง และล้อมปิดกั้นช่องประตูรั้วที่เคยมีเข้าออกบ้านจำเลยเสียด้วย จำเลยไม่มีทางอื่นออก เพราะที่บ้านจำเลยอยู่ในที่ผู้อื่นล้อมรอบมีรั้วกั้น จำเลยร้องต่ออำเภอขอให้โจทก์เปิดรั้วให้จำเลยเข้าออกได้ โจทก์ไม่ยอม จำเลยจึงได้รื้อรั้วเฉพาะตรงที่เคยเป็นช่องประตูเข้าออกบ้านจำเลย กว้างประมาณ 1 วา เพื่อเดินเข้าออกบ้านจำเลย ตามเดิม ดังนี้ จำเลยมีสิทธิทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 258


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1791/2497
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสองฝ่ายแต่ละฝ่ายได้สมคบกันทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง จำเลยทุกคนรับตามฟ้อง ข้อเท็จจริงต้องฟังว่าจำเลยทุกคนเข้าวิวาทต่อสู้กันไม่ปรากฎว่า ใครทำใครความผิดจำเลยจึงต้องด้วยกฎหมายอาญา ม.258


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2497
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยและผู้เสียหายวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและตัวต่อตัว ศาลก็ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายได้ (ม.+) ไม่ใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณาต่างกับฟ้อง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท