Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 254 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 254 หรือ มาตรา 254 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 254 ” หรือ “มาตรา 254 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งแสตมป์รัฐบาล ซึ่งใช้สำหรับการไปรษณีย์ การภาษีอากรหรือการเก็บค่าธรรมเนียม หรือแปลงแสตมป์รัฐบาลซึ่งใช้ในการเช่นว่านั้นให้ผิดไปจากเดิม เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีมูลค่าสูงกว่าจริง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]“

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 254” หรือ “มาตรา 254 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2536
แบบใบอนุญาตขับรถเป็นเอกสารราชการซึ่งเจ้าพนักงานได้จัดทำขึ้นตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) ผู้ใดจะทำขึ้นเองไม่ได้การที่จำเลยพิมพ์แบบใบอนุญาตขับรถขึ้นเอง โดยปรากฏข้อความบางส่วนให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าเป็นแบบใบอนุญาตของทางราชการที่แท้จริง แม้ยังไม่กรอกข้อความอื่นลงไปก็เป็นการปลอมข้อความบางส่วนลงไปแล้วจึงเป็นการปลอมเอกสารราชการ จำเลยปลอมแสตมป์ที่ใช้สำหรับการภาษีอากรอันเป็นความผิดตามมาตรา 254 และจำเลยมีเครื่องมือหรือวัตถุเพื่อใช้ในการปลอมอันเป็นความผิดตามมาตรา 261 ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 254 ได้เพียงกระทงเดียวตามมาตรา 263 แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง,225


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2507
จำเลยถูกฟ้องหาว่าทำปลอมเอกสาร(จดหมายของผู้เสียหาย) ขึ้นทั้งฉบับ และใช้เอกสาร(จดหมาย)ปลอมนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทำเอกสาร(จดหมาย) นั้นขึ้นตามคำสั่งของผู้เสียหายแล้ว การกระทำของจำเลยก็ไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2500
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า จำเลยทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน ในท้องถนนหลวงถึงบาดเจ็บ ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.อาญา ม. 254 เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า บาดแผลที่จำเลยกระทำร้ายคู่วิวาทอีกฝ่ายหนึ่งไม่ถึงบาดเจ็บ เมื่อโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ม.335 (6) มาด้วย จะลงโทษตามมาตรานี้ไม่ได้ เพราะเป็นความผิดคนละประเภทและบทบัญญัติความผิดก็คนละหมวดหมู่กัน ถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ
รายงานชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้องย่อมเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อจำเลยรับสารภาพว่าได้กระทำผิดดังฟ้องโจทก์ทุกข้อหา แต่รายงานชันสูตรบาดแผลผู้ถูกทำร้ายเพียงฟกช้ำเท่านั้น ยังไม่ถึงเกณฑ์บาดเจ็บ จะลงโทษตาม ม.254 ไม่ได้.
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที