Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 247 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 247 หรือ มาตรา 247 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 247 ” หรือ “มาตรา 247 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าการกระทำดังกล่าวในหมวดนี้เป็นการกระทำเกี่ยวกับเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งรัฐบาลต่างประเทศออกใช้ หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ หรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ผู้กระทำต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 247” หรือ “มาตรา 247 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2565
การสับเปลี่ยนธนบัตรฉบับจริงของผู้เสียหายทั้งสี่และได้ไปซึ่งธนบัตรฉบับจริงของผู้เสียหายทั้งสี่ตามที่จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสี่เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง แต่การที่จำเลยกับพวกร่วมกันมีธนบัตรปลอมไว้แล้วนำออกใช้สับเปลี่ยนกับธนบัตรฉบับจริงของผู้เสียหายทั้งสี่เป็นการมีไว้เพื่อนำออกใช้ตามความใน ป.อ. มาตรา 244 ประกอบมาตรา 247 เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่มีการรับธนบัตรนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นธนบัตรปลอม ไม่ใช่เมื่อมีการนำออกใช้ การกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จำเลยกับพวกย่อมมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกันและสามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาลต่างประเทศปลอม ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3986/2564
ธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอมอยู่ในความครอบครองของจำเลยมาแต่แรก เจ้าพนักงานตำรวจค้นพบของกลางทั้งหมดภายในบ้านจำเลย หาได้กระทำการใดอันเป็นการก่อให้จำเลยจัดหามาไว้ในความครอบครองของตนซึ่งธนบัตรปลอมดังกล่าว การล่อซื้อน้ำยาเคมีล้างกระดาษให้กลายเป็นธนบัตรดอลลาร์สหรัฐของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นเพียงการแสวงหาพยานหลักฐานมาเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยเท่านั้น มิใช่จำเลยขาดเจตนากระทำความผิดมาแต่แรกแล้วเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยกระทำความผิดอันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย การสอบสวนชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเก็บธนบัตรปลอมไว้ในบ้านจำนวนมากลักษณะที่พร้อมจะนำออกมาใช้เองหรือมอบต่อให้ผู้อื่นใช้ดังเช่นธนบัตรจริง กับนำออกแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ล่อซื้อเพื่อให้หลงเชื่อหรือสนใจซื้อน้ำยาเคมีจากจำเลยด้วย ถือเป็นการมีธนบัตรปลอมไว้ในครอบครองเพื่อนำออกใช้แล้ว


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7176/2562
จำเลยทั้งสามเดินทางมาที่ห้างสรรพสินค้า ซ. สาขาพระราม 9 ด้วยกัน แล้วจำเลยที่ 1 ถูกจับกุมก่อนพร้อมธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอมที่เก็บไว้ในซองสีน้ำตาลซ่อนอยู่กับตัวของจำเลยที่ 1 ต่อมาจึงจับกุมจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ คนละแห่งกันกับที่จับกุมจำเลยที่ 1 แม้อยู่ในห้างสรรพสินค้าเดียวกัน แต่ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะครอบครองธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอมร่วมกัน โจทก์คงอาศัยพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสามที่ร่วมเดินทางมาด้วยกันเท่านั้นที่เป็นหลักในการดำเนินคดี แต่บุคคลที่เดินทางมาด้วยกัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องกระทำความผิดร่วมกันเสมอไป โจทก์ไม่มีพยานบุคคลใดที่ทราบถึงรายละเอียดของการซื้อและส่งมอบธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอม พยานหลักฐานของโจทก์จึงยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีการกระทำร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ที่มีธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ และรู้ถึงการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่แรกด้วยหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2 และที่ 3
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท