Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 245 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 245 หรือ มาตรา 245 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 245 ” หรือ “มาตรา 245 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดได้มาซึ่งสิ่งใด ๆ โดยไม่รู้ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา ๒๔๐ หรือของแปลงตามมาตรา ๒๔๑ ถ้าต่อมารู้ว่าเป็นของปลอมหรือของแปลงเช่นว่านั้น ยังขืนนำออกใช้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 245” หรือ “มาตรา 245 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2527
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2525 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ดังนั้น ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(11) เวลาเกิดเหตุตามฟ้องของโจทก์ ก็คือตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกของวันที่ 9 มิถุนายน 2525 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันเดียวกัน เป็นระยะเวลานาน 6 ชั่วโมง เข้าใจได้ว่าจำเลยได้รู้อยู่ว่าธนบัตรดังกล่าวเป็นเงินตราซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นไม่สามารถใช้ได้ตามกฎหมาย แต่จำเลยได้ขืนนำออกใช้เมื่อเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกของวันที่ 9 มิถุนายน 2525 จนถึงเวลา24.00 นาฬิกาของวันเดียวกัน อันเป็นระยะเวลาหลังจากจำเลยได้มาซึ่งเงินตราที่มีผู้ทำปลอมขึ้น ฟ้องโจทก์จึงมีรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2527
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2525 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ดังนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(11)เวลาเกิดเหตุตามฟ้องของโจทก์ ก็คือตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกของวันที่ 9 มิถุนายน 2525 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันเดียวกันเป็นระยะเวลานาน 6 ชั่วโมง เข้าใจได้ว่าจำเลยได้รู้อยู่ว่าธนบัตรดังกล่าวเป็นเงินตราซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นไม่สามารถใช้ได้ ตามกฎหมายแต่จำเลยได้ขืนนำออกใช้เมื่อเวลาระหว่าง พระอาทิตย์ตกของวันที่ 9 มิถุนายน 2525 จนถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันเดียวกันอันเป็นระยะเวลาหลังจาก จำเลยได้มาซึ่งเงินตราที่มีผู้ทำปลอมขึ้น ฟ้องโจทก์จึง มีรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2527
จำเลยมีธนบัตรของกลางเพียงฉบับเดียวนำไปชำระค่าร่วมประเวณีแก่หญิงเป็นธนบัตรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับธนบัตรฉบับละ500 บาทที่แท้จริง จำเลยมีอาชีพค้าขายปลีกเนื้อสัตว์ในต่างจังหวัด อาจได้รับธนบัตรของกลางมาจากลูกค้าซื้อเนื้อสัตว์ โดยจำเลยไม่รู้ว่าเป็นธนบัตรปลอม ดังนี้ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 245
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท