Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 238 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 238 หรือ มาตรา 238 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 238 ” หรือ “มาตรา 238 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๒๖ ถึงมาตรา ๒๓๗ เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
              ถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 238” หรือ “มาตรา 238 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2543
จำเลยที่ 1 เป็นวิศวกรผู้คำนวณโครงสร้างการรับน้ำหนักของอาคารจำเลยที่ 9 ในการปลูกสร้างย่อมต้องทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารดังกล่าวได้กำหนดการรับน้ำหนักไว้เพียง 4 ชั้นรวมชั้นใต้ดิน แต่จำเลยที่ 1 กลับมาคำนวณออกแบบต่อเติมอาคารโดยที่ทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารเดิมรับน้ำหนักส่วนที่ต่อเติมไม่ได้และยังใช้ฐานรากและเสาในแนวซีซึ่งออกแบบให้รับน้ำหนักไว้เพียง 2 ชั้นเป็นจุดเชื่อมต่ออาคารเดิมและอาคารที่ต่อเติม ทำให้น้ำหนักของอาคารทั้งหมดถ่ายเทลงสู่เสาและฐานรากในแนวซีให้ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังเบิกความและยอมรับในฎีกาว่าได้ดูแบบแปลนของอาคารเดิมดูสภาพของอาคารที่มีอยู่เดิมและทราบว่าเสาในแนวซีต้นที่ 176 มีขนาด และส่วนประกอบผิดไปจากแปลน เช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามวิธีการอันพึงกระทำในการออกแบบเพราะเดิมจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ออกแบบ เมื่อพบเห็นสภาพอาคารก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนเช่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาข้อมูลที่ถูกต้องให้ได้มากที่สุดว่าโครงสร้างอาคารเดิมมั่นคงแข็งแรงพอจะรับน้ำหนักอาคารในส่วนที่ต่อเติมได้อีกหรือไม่ โดยการสอบถามหรือขอข้อมูลเดิมจากสถาปนิกและวิศวกรที่ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเดิม แต่จำเลยที่ 1 ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้เหตุที่อาคารจำเลยที่ 9 พังทลายจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายก็เป็นเพราะจำเลยที่ 1 คำนวณออกแบบโครงสร้างและการรับน้ำหนักของอาคารไว้ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 โดยตรง การกระทำของจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 227 ประกอบกับมาตรา 238
กรรมการของจำเลยที่ 9 ตลอดจนจำเลยที่ 15 มิได้เป็นวิศวกร ย่อมไม่อาจทราบถึงความมั่นคงแข็งแรงของอาคารจำเลยที่ 9 ว่าจะต่อเติมได้หรือไม่และใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าการประกอบกิจการโรงแรมต้องต่อใบอนุญาตทุกปีและจำเลยที่ 9 ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงแรมตลอดมา ก่อนออกใบอนุญาตในแต่ละปีจะมีเจ้าพนักงานทั้งของเทศบาลและของจังหวัดมาตรวจสอบอาคารในด้านความมั่นคงปลอดภัย ความสะอาด การระบายอากาศและสุขอนามัย ซึ่งเจ้าพนักงานดังกล่าวไม่เคยทักท้วงว่าอาคารจำเลยที่ 9 ไม่มั่นคงปลอดภัยแต่อย่างใด ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 9 ตลอดจนจำเลยที่ 15 ล้วนแต่ทำงานหรือใช้ประโยชน์อยู่ในอาคารดังกล่าวทั้งสิ้นหากทราบว่าอาคารไม่มั่นคงปลอดภัยย่อมจะไม่มีผู้ใดยอมเสี่ยงชีวิตเข้าไปทำงานหรือใช้ประโยชน์ในอาคารจำเลยที่ 9 อย่างแน่นอน เพราะทุกคนย่อมรักชีวิตของตนยิ่งกว่าผลประโยชน์รายได้ทางธุรกิจ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 15 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 จึงยังมีความสงสัยตามสมควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
การตรวจคำขอก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารนั้นพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 28 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้คำนวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณที่ได้ยื่นมาพร้อมคำขอตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23 หรือมาตรา 24 เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคำขอก่อสร้างต่อเติมอาคารของจำเลยที่ 9 มีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเป็นผู้ออกแบบคำนวณโครงสร้างและลงชื่อรับรองมาด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมไม่จำต้องตรวจแบบแปลนหรือรายการคำนวณโครงสร้างเพื่อให้ทราบว่าโครงสร้างอาคารเดิมมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักอาคารส่วนต่อเติมได้หรือไม่ เพราะเป็นรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งจำเลยที่ 1 ยังบันทึกหมายเหตุไว้ในใบปะหน้าการคำนวณว่าได้ทำการตรวจสอบดูแล้วฐานรากและส่วนของอาคารเดิมสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้มาแสดงด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ตรวจคำขอต่อเติมอาคารจำเลยที่ 9 และทำความเห็นเสนอต่อจำเลยที่ 7 และที่ 8 ว่าควรอนุญาตให้จำเลยที่ 9 ต่อเติมอาคารได้ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ไปโดยชอบแล้ว ส่วนจำเลยที่ 7 และที่ 8 นั้น ได้พิจารณาและสั่งอนุญาตให้ต่อเติมได้ตามความเห็นที่เสนอขึ้นมาโดยชอบของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ทั้งไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันเป็นเจตนาพิเศษซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไร จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ย่อมไม่มีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 28 กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งในการคำนวณเกี่ยวกับรายละเอียดของวิศวกรรมนั้นวิศวกรผู้คำนวณและออกแบบจะต้องปฏิบัติตามค่ากำหนดที่ปรากฏในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ส่วนวิศวกรของเทศบาลผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบทางด้านวิศวกรรมนั้นไม่ต้องตรวจในรายละเอียดของหลักวิศวกรรมศาสตร์ เพียงแต่ต้องตรวจและพิจารณาว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงหลักการและเหตุผลในการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 แล้ว เป็นการออกมาเพื่อรองรับมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แม้กฎกระทรวงดังกล่าวจะไม่ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 28 ก็ตาม โจทก์จะอ้างว่าขณะที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ตรวจพิจารณาคำขออนุญาตดัดแปลง ต่อเติมอาคารของจำเลยที่ 9 ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงรองรับ จึงไม่อาจนำความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาใช้ไม่ได้

จำเลยที่ 1 เป็นวิศวกรผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ย่อมมีความรู้ความชำนาญในการออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารอันเป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างออกแบบคำนวณต่อเติมและควบคุมการก่อสร้างต่อเติมอาคารเกิดเหตุ ซึ่งเป็นโรงแรมอันเป็นอาคารสาธารณะที่มีประชาชนจำนวนมากมาใช้บริการ จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นเป็นพิเศษตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยต้องออกแบบและคำนวณโครงสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่จำเลยที่ 1 กลับประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโดยไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษและออกแบบไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ อันเป็นเหตุให้อาคารเกิดเหตุพังทลายทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก พฤติการณ์และสภาพความผิดของจำเลยที่ 1 จึงร้ายแรงสมควรลงโทษสถานหนัก


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2542
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1(ข) โดยสรุปว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันดัดแปลงต่อเติมเรือเอี้ยมจุ๊นซึ่งมิใช่เรือที่ทำขึ้นสำหรับขนส่งคนโดยสารโดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่ได้มาตรฐานโดยต่อเติมชั้นสองของเรือเป็นดาดฟ้าให้บรรทุกขนส่งคนโดยสารได้ ส่วนของโครงหลังคาชั้นสองมีเสาเหล็กรองรับ 17 ต้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว พื้นดาดฟ้าชั้นสองเป็นเหล็กแผ่นเรียบ หนาประมาณ 1 หุน ยึดติดกับเสาเหล็กไม่แข็งแรง คานรับดาดฟ้าเล็ก และดาดฟ้าสูงจากพื้นชั้นล่าง 2.10 เมตร ซึ่งสูงเกินไปไม่สามารถบรรทุกคนโดยสารได้อย่างปลอดภัยและไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานกรมเจ้าท่าจะออกใบอนุญาตใช้เรือให้เป็นเรือรับจ้างขนส่งคนโดยสารได้และตามวันเวลาในฟ้องข้อ 1 จำเลยทั้งห้าใช้เรือลำเกิดเหตุบรรทุกคนโดยสารมากถึง 70 คน ซึ่งลักษณะและการบรรทุกน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือ แล้วแล่นไปในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์และการกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งจำเลยทั้งห้าจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่จำเลยทั้งห้าหาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เมื่อดาดฟ้าชั้นสองไม่สามารถรับน้ำหนักคนโดยสารเป็นจำนวนมากหักลง เรือเสียการทรงตัวและพลิกคว่ำเป็นเหตุให้คนโดยสารจมน้ำตาย 39 คน ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งห้าเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 233 และองค์ประกอบของการกระทำโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้การตกลงว่าจ้างเรือทั้งสองลำกระทำในคราวเดียวกันและมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน แต่เรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีนี้กับเรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น เป็นเรือคนละลำกัน สามารถแยกการกระทำออกจากกันได้กรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฉะนั้น แม้ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2และที่ 4 ในคดีนี้ หาเป็นฟ้องซ้ำไม่

พยานโจทก์ทั้งสองจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ หลักสูตร 5 ปี เรือโท ส. รับราชการที่กรมเจ้าท่าในตำแหน่ง เจ้าพนักงานตรวจเรือเป็นเวลาประมาณ 3 ปี มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเรือมาโดยตลอด ส่วนเรือเอก ช. รับราชการเป็นเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 มีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจเรือตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2530 พยานทั้งสองจึงเป็นผู้ชำนาญการพิเศษในการตรวจเรือความเห็นของพยานทั้งสองจึงเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดและมีน้ำหนักให้รับฟังได้
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมทุนกันซื้อเรือลำเกิดเหตุซึ่งเป็นเรือเอี้ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลงเป็นเรือสองชั้นเพื่อรับจ้างขนส่งคนโดยสารไปชมทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ยื่นขอใบอนุญาตใช้เรือต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อนอุบลรัตน์ จำเลยที่ 3มีหน้าที่จัดหาผู้โดยสารเรือ จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ออกแบบต่อเติมเรือและได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ควบคุมเรือลำเกิดเหตุซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น ไปใช้รับจ้างขนส่งคนโดยสารด้วยการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 ประกอบด้วยมาตรา 83เมื่อการกระทำนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างขนส่งคนโดยสารโดยเจตนาจนน่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 กรณีไม่ใช่กระทำโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ ซึ่งจะต้องเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แม้ผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายอันนอกเหนือจากเจตนาที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับโทษหนักขึ้นในผลแห่งการกระทำความผิดตามมาตรา 233จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายอีกบทหนึ่ง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2542
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 (ข) โดยสรุปว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันดัดแปลงต่อเติมเรือเอี้ยมจุ๊นซึ่งมิใช่เรือที่ทำขึ้นสำหรับขนส่งคนโดยสารโดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่ได้มาตราฐานโดยต่อเติมชั้นสองของเรือเป็นดาดฟ้า ให้บรรทุกขนส่งคนโดยสารได้ ส่วนของโครงหลังคาชั้นสองมีเสาเหล็กรองรับ 17 ต้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว พื้นดาดฟ้าชั้นสองเป็นเหล็กแผ่นเรียบ หนาประมาณ 1 หุน ยึดติดกับเสาเหล็กไม่แข็งแรง คานรับดาดฟ้าเล็ก และ ดาดฟ้าสูงจากพื้นชั้นล่าง 2.10 เมตร ซึ่งสูงเกินไปไม่สามารถบรรทุกคนโดยสารได้อย่างปลอดภัย และไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ ที่เจ้าพนักงานกรมเจ้าท่าจะออกใบอนุญาตใช้เรือให้เป็นเรือรับจ้างขนส่งคนโดยสารได้ และตามวันเวลาในฟ้องข้อ 1 จำเลยทั้งห้าใช้เรือลำเกิดเหตุบรรทุกคนโดยสารมากถึง 70 คน ซึ่งลักษณะและการบรรทุกน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือแล้วแล่นไปในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ และการกระทำของจำเลยทั้งห้า เป็นความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งจำเลยทั้งห้าจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่จำเลยทั้งห้าหาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เมื่อดาดฟ้าชั้นสองไม่สามารถรับน้ำหนักคนโดยสารเป็นจำนวนมากหักลง เรือเสียการทรงตัวและพลิกคว่ำเป็นเหตุให้คนโดยสารจมน้ำตาย 39 คน ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและ รายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งห้าเข้าใจข้อหาได้ดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 233 และ องค์ประกอบของการกระทำโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

แม้การตกลงว่าจ้างเรือทั้งสองลำกระทำในคราวเดียวกัน และมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน แต่เรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีนี้กับเรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่นเป็นเรือคนละลำกัน สามารถแยกการกระทำออกจากกันได้ กรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฉะนั้นแม้ศาลฎีกา จะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 ในคดีนี้ หาเป็นฟ้องซ้ำไม่

เรือโท ส. และเรือเอก ช. พยานโจทก์ทั้งสองจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ หลักสูตร 5 ปี เรือโท ส. รับราชการ ที่กรมเจ้าท่าในตำแหน่ง เจ้าพนักงานตรวจเรือเป็นเวลาประมาณ 3 ปี มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเรือมาโดยตลอด ส่วนเรือเอก ช. รับราชการเป็นเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 มีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจเรือตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2530 พยานทั้งสอง จึงเป็นผู้ชำนาญการพิเศษในการตรวจเรือ ความเห็นของพยานทั้งสองจึงเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดและ มีน้ำหนักให้รับฟังได้

จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมทุนกันซื้อเรือลำเกิดเหตุซึ่งเป็นเรือเอี่ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลงเป็นสองชั้นเพื่อรับจ้าง ขนส่งคนโดยสารไปชมทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ยื่นขอใบอนุญาตใช้เรือต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อนอุบลรัตน์ จำเลยที่ 3 มีหน้าที่จัดหาผู้โดยสารเรือ จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ออกแบบต่อเติมเรือ และได้ว่าจ้าง จำเลยที่ 1 ควบคุมเรือลำเกิดเหตุซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้นไปใช้รับจ้างขนส่งผู้โดยสารด้วยการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 233 ประกอบด้วยมาตรา 83 เมื่อการกระทำนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 238 วรรคหนึ่ง

จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างขนส่งโดยสารโดยเจตนาจนน่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 233 กรณีไม่ใช่การกระทำโดยประมาทตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสี่ ซึ่งจะต้องเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แม้ผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย อันนอกเหนือจากเจตนาที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลก็ตาม แต่ ป.อ. มาตรา 238 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับโทษหนักขึ้นในผลแห่งการกระทำความผิดตามมาตรา 233 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดจนไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษในบทมาตราดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท