Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 236 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 236 หรือ มาตรา 236 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 236 ” หรือ “มาตรา 236 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดปลอมปนอาหาร ยาหรือเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นใด เพื่อบุคคลอื่นเสพย์หรือใช้ และการปลอมปนนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ หรือจำหน่าย หรือเสนอขาย สิ่งเช่นว่านั้นเพื่อบุคคลเสพย์หรือใช้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 236” หรือ “มาตรา 236 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2538
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้น้ำหัวเชื้อทางเคมีผสมกับวัตถุทางเคมีจนเป็นแชมพูโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วบรรจุขวดแชมพูที่มีชื่อรูปรอยประดิษฐ์เป็นเครื่องหมายการค้า วิดัลแซสซูน เครื่องหมาย แพนทีนโปรวี เครื่องหมายอักษรโรมัน ปาล์มโอลีฟออพติมา และเครื่องหมาย รีจอยส์ อันเป็นเครื่องหมายการค้าและใช้ในการประกอบการค้าของบริษัท ริชาร์ดวินสันวิคส์อิงค์ ของบริษัท คอลเกตปาล์มโอลีฟฯ และของบริษัท เดอะพร็อคเตอร์แอนด์แกรมเบิลฯซึ่งได้จดทะเบียนในประเทศ สหรัฐอเมริกา เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าและการค้าของบริษัทดังกล่าวข้างต้นและจำหน่ายแก่ประชาชนเมื่อนำไปใช้แล้วจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพผู้บริโภคเป็นการบรรยายครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา236,272และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2536
จำเลยเอายาเบื่อหนูใส่ในโอ่งน้ำดื่มของผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายทราบเสียก่อนไม่ยอมดื่มน้ำดังกล่าวผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นการปลอมปนเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อบุคคลอื่นเสพหรือใช้และการปลอมปนนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 236 และมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ซึ่งเป็นบทหนักตามมาตรา 90


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2486
การวินิฉัยปัญหาข้อกดหมายสาลดีกาจำต้องวินิฉัยการกะทำของจำเลยโดยฟังข้อเท็ดจิงตามที่สาลอุธรน์ฟังมา.
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท