Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 225 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 225 หรือ มาตรา 225 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 225 ” หรือ “มาตรา 225 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท และเป็นเหตุให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย หรือการกระทำโดยประมาทนั้นน่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตของบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 225” หรือ “มาตรา 225 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14715/2557
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันตัดผลปาล์มของผู้เสียหายจนหล่นลงมากองอยู่บนพื้นเป็นการแยกหรือเคลื่อนที่ผลปาล์มออกจากต้น แต่ยังไม่ทันรวบรวมผลปาล์ม ผู้เสียหายก็มาพบเสียก่อน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้ายึดถือเอาผลปาล์มจำนวนนั้นไว้แล้วอันเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหาย กรณีจึงเป็นความผิดฐานพยายามร่วมกันลักทรัพย์เท่านั้น และถือเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2557
คดีนี้โจทก์ร่วมทั้งสองร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่ทรัพย์สินมาด้วย ซึ่งเป็นคำขอบังคับในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง และมาตรา 47 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ แม้จำเลยที่ 2 มิได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์ร่วมทั้งสองเสียหาย แต่ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดงานเลี้ยงฉลองเทศกาลปีใหม่ขึ้นที่บ้านของตนเอง การจุดพลุเป็นพิธีการส่วนหนึ่งของการเปิดงาน การที่จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ทำการจุดพลุ อันเป็นสัญญาณเริ่มต้นเปิดงานต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการจุดพลุเปิดงานเลี้ยงฉลองเทศกาลปีใหม่ที่จำเลยที่ 2 จัดให้มีขึ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ทำการจุดพลุโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์ร่วมทั้งสองเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมทั้งสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปตามคำสั่งที่จำเลยที่ 2 ใช้ให้กระทำแทนจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ประกอบมาตรา 427 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมทั้งสองด้วย


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2549
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้สหกรณ์การเกษตร ข. ผู้เสียหาย เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์นั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว ศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้เฉพาะแก่เจ้าพนักงานอัยการโจทก์เท่านั้น หาได้สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่โจทก์ร่วมด้วยไม่ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยลดโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้โจทก์ร่วมเพื่อแก้อุทธรณ์ด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 200
ในการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้คู่ความฟัง ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้แก่โจทก์ร่วมทราบด้วย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 182 ประกอบมาตรา 215 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้ปฏิบัติเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท