Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 223 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 223 หรือ มาตรา 223 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 223 ” หรือ “มาตรา 223 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ความผิดดังกล่าวในมาตรา ๒๑๗ มาตรา ๒๑๘ มาตรา ๒๒๐ มาตรา ๒๒๑ หรือมาตรา ๒๒๒ นั้น ถ้าทรัพย์ที่เป็นอันตราย หรือที่น่าจะเป็นอันตรายเป็นทรัพย์ที่มีราคาน้อย และการกระทำนั้นไม่น่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 223” หรือ “มาตรา 223 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2545
ทรัพย์ที่เป็นอันตรายจากการวางเพลิงของจำเลยเป็นเพียงประตูบ้านซึ่งทำด้วยไม้มะค่าและต้นไม้ประดับ คิดเป็นเงินประมาณ 5,000 บาท ถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่มีราคาน้อย และขณะเกิดเหตุผู้เสียหายก็อยู่ในที่เกิดเหตุและสามารถดับไฟได้ทัน การกระทำของจำเลยจึงไม่น่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น กรณีเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218(1) ประกอบด้วยมาตรา 223


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2543
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 218 (1) โดยศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน เมื่อปรากฏว่า กระท่อมนาและทรัพย์สินที่ถูกเพลิงไหม้มีราคาเพียงเล็กน้อย ทั้งกระท่อมนาดังกล่าวปลูกอยู่กลางทุ่งนา รอบกระท่อมนาไม่มีบ้านเรือนบุคคลอื่นอยู่ และขณะเกิดเหตุกระท่อมนาไม่มีบุคคลอยู่อาศัย ย่อมไม่อาจเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่นได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 223 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนโดยไม่ได้แก้ไข จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2499
อัยการโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้ง 4 สมคบกันถากทำลายตราประจำต้นไม้ของนายจงกลซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ แล้วสมคบกันตีราคาเลขหมายอื่น เป็นเลขของนายพิจิตรจำเลยขึ้นใหม่โดยทางการมิได้อนุญาตเพื่อประสงค์จะให้ไม้ของนายจงกลตกเป็นของนายพิจิตร จำเลย โดยจำเลยหวังผลประโยชน์จากนายพิจิตร
ดังนี้นายจงกลย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้เสียหายมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการโจทก์ได้ เพราะเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำไม้ที่ตีตราไว้ให้แล้วซึ่งนายจงกลมีสิทธิที่จะเข้ายึดถือครอบครองเป็นเจ้าของในภายหลัง (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2499)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท