Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 219 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 219 หรือ มาตรา 219 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 219 ” หรือ “มาตรา 219 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดตระเตรียมเพื่อกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา ๒๑๗ หรือมาตรา ๒๑๘ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับพยายามกระทำความผิดนั้น ๆ”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


2 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 219” หรือ “มาตรา 219 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7352/2547
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง , 66 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดระยอง มีกำหนด 1 ปี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 (2) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม) , 67 (ที่แก้ไขใหม่) และ 102 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ลงโทษจำคุก 1 ปี 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี โดยกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยที่ 2 ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแก้ทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษอันเป็นการแก้มาก แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 การที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2534
การที่จำเลยนำเช็คที่บริษัท ล. สั่งจ่ายให้โจทก์ร่วม ซึ่งจำเลยได้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมสลักหลังให้จำเลยแล้วนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารตามเช็คเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลย แม้จะเป็นการหลอกลวงโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำต่อธนาคารและเจ้าหน้าที่ของธนาคารโดยตรง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อโจทก์ร่วม หากโจทก์ร่วมจะได้รับความเสียหายเพราะเสียสิทธิที่จะได้รับเงินตามเช็คไป ก็เป็นความเสียหายที่โจทก์ร่วมได้รับในความผิดฐานปลอมเอกสาร หาใช่ความเสียหายจากการหลอกลวงของจำเลยไม่ โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงและไม่มีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดฐานนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน2 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ป.วิ.อ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 12 ที่โจทก์ฎีกาว่าไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษให้จำเลยเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดโทษจำเลย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว.
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท