Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 212 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 212 หรือ มาตรา 212 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 212 ” หรือ “มาตรา 212 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใด
              (๑) จัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักให้แก่อั้งยี่หรือซ่องโจร
              (๒) ชักชวนบุคคลให้เข้าเป็นสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจร
              (๓) อุปการะอั้งยี่หรือซ่องโจรโดยให้ทรัพย์หรือโดยประการอื่น หรือ
              (๔) ช่วยจำหน่ายทรัพย์ที่อั้งยี่หรือซ่องโจรได้มาโดยการกระทำความผิด
              ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจร แล้วแต่กรณี”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 212” หรือ “มาตรา 212 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2546
ความผิดฐานซ่องโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 นั้น ผู้กระทำต้องสมคบกันเพื่อกระทำความผิด โดยร่วมคบคิดกันหรือแสดงออกซึ่งความตกลงจะทำความผิดร่วมกัน เช่น ประชุมหรือหารือวางแผนที่จะกระทำความผิด และตามมาตรา 212บัญญัติให้เอาความผิดแก่ผู้จัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักให้แก่ซ่องโจร ซึ่งเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นถึงองค์ประกอบของความผิดฐานเป็นซ่องโจรให้เห็นเด่นชัดว่าจะต้องมีการคบคิดประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อกระทำความผิด ซึ่งมีสภาพเป็นการกระทำระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่า มีการคบคิดกันจะกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ข้อเท็จจริงจึงไม่พอฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
ผู้เสียหายสมัครใจที่นำเงินมาเพื่อร่วมกับจำเลยทั้งสองและ ว. เล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. ตามที่บุคคลทั้งสามชักชวนผู้เสียหาย เพราะ ว. ได้แสดงการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดู ตลอดจนจำเลยที่ 2 ก็สอนวิธีการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดูจนผู้เสียหายแน่ใจว่าสามารถเล่นพนันกำถั่วโกง ท. ได้ ทั้งผู้เสียหายก็อยู่ในห้องเกิดเหตุตลอดเวลาที่เล่นการพนันกัน การที่ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้จำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. จึงเชื่อได้ว่าผู้เสียหายสมัครใจเข้าร่วมเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2533
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรนั้น ผู้กระทำจะต้องสมคบกันเพื่อกระทำความผิด คือร่วมคบคิดกัน ประชุมปรึกษาหารือกัน หรือการแสดงออกซึ่งความตกลงจะกระทำผิดร่วมกัน อันมีสภาพเป็นการกระทำระหว่างผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5ร่วมกันเจรจากับเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปล่อซื้อเสนอขายรถจักรยานยนต์ที่ถูกลักมาให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ มีลักษณะที่เป็นการกระทำต่อบุคคลภายนอก การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานซ่องโจร.


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2533
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรนั้น ผู้กระทำจะต้องสมคบกันเพื่อกระทำความผิด คือร่วมคบคิดกัน ประชุมปรึกษาหารือกัน หรือการแสดงออกซึ่งความตกลงจะกระทำผิดร่วมกัน อันมีสภาพเป็นการกระทำระหว่างผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันเจรจากับเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปล่อซื้อเสนอขายรถจักรยานยนต์ที่ถูกลักมาให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ มีลักษณะที่เป็นการกระทำต่อบุคคลภายนอก การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานซ่องโจร
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท