Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 207 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 207 หรือ มาตรา 207 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 207 ” หรือ “มาตรา 207 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดก่อให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในที่ประชุมศาสนิกชนเวลาประชุมกัน นมัสการ หรือกระทำพิธีกรรมตามศาสนาใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 207” หรือ “มาตรา 207 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2530
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานก่อความวุ่นวายในการกระทำพิธีกรรมตามศาสนาหรือไม่นั้น การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองเป็นอิหม่ามและบิหลั่นโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองดำรงตำแหน่งดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย จนกระทั่งถึงขณะเกิดเหตุ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง

จำเลยที่ 2 ประกาศทางเครื่องขยายเสียงต่อหน้าสัปปุรุษทั้งหลายในมัสยิดโดยใส่ความโจทก์ว่าเป็นอิหม่ามและบิหลั่นเถื่อนได้หลอกลวงสัปปุรุษมานานแล้ว เป็นการทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ทั้งมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตตาม ป.อ. มาตรา 329 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม มาตรา328.


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2530
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานก่อความวุ่นวายในการกระทำพิธี กรรมตามศาสนาหรือไม่นั้น การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองเป็นอิหม่าม และบิหลั่นโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองดำรง ตำแหน่งดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย จนกระทั่งถึงขณะเกิดเหตุ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 2 ประกาศทางเครื่องขยายเสียงต่อหน้าสัปบรุษ ทั้งหลายในมัสยิดโดยใส่ความโจทก์ว่าเป็นอิหม่าม และบิหลั่นเถื่อน ได้หลอกลวงสัปบรุษ มานานแล้ว เป็นการทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ทั้งมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตตามป.อ. มาตรา 329 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม มาตรา 328.


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2516
จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท เป็นทั้งความผิดลหุโทษและที่มิใช่ลหุโทษ แต่ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาในความผิดลหุโทษแต่บทเดียว แล้วเปรียบเทียบปรับไป ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ทำให้คดีเลิกกันอันเป็นเหตุให้สิทธินำคดีมาฟ้องระงับไป พนักงานอัยการมีสิทธิฟ้องจำเลยในความผิดที่มิใช่ลหุโทษอีกได้
คืนเกิดเหตุมีการชุมนุมกันกระทำพิธีสวดมนต์ทำบุญฉลองกระดูกผู้ตายตามพุทธศาสนาบนหอสวดมนต์ จำเลยขึ้นมาส่งเสียงเอะอะอื้อฉาวซ้ำยังกล่าวว่า พระนี่ยุ่งจริง พระไม่มีความหมายแล้วจำเลยนั่งลงใช้มือตบกระดาน 7-8 ครั้งและชักปืนพกออกจากเอวมาถือไว้ หันปากกระบอกปืนมาทางพระ แล้วปืนตกลงยังพื้นหอสวดมนต์ การกระทำของจำเลยดังกล่าว ถึงแม้ผู้ที่ไปชุมนุมกันจะไม่มีปฏิกิริยาวุ่นวายขึ้นก็ตาม ก็ยังถือได้ว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 207
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท