Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 205 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 205 หรือ มาตรา 205 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 205 ” หรือ “มาตรา 205 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าการกระทำดังกล่าวในมาตรา ๒๐๔ เป็นการกระทำโดยประมาท ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              ถ้าผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังไปด้วยการกระทำโดยประมาทนั้น เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาของศาลหนึ่งศาลใดให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป หรือมีจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              ถ้าผู้กระทำความผิด จัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังคืนมาภายในสามเดือน ให้งดการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดนั้น
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 205” หรือ “มาตรา 205 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2531
แม้การที่พนักงานสอบสวนจะรับตัวผู้ต้องหาควบคุมไว้โดยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ก็ตาม แต่การควบคุมนั้นก็ยังคงเป็นการควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวนอยู่ ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ต้องขังตามอำนาจของพนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ต้องขังไป จึงเป็นการกระทำให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้นหลุดพ้นจากการคุมขัง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2509
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 43 ข้อ 2 มีความมุ่งหมายว่า ไม่ประสงค์จะให้คุมบุคคลไว้ตลอดไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจึงกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาและมีคำสั่งทุกระยะ 3 เดือนว่าให้ควบคุมต่อไปหรือให้ปล่อยไปการที่คณะกรรมการมิได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นจึงไม่ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวหากนายปุ่นหลบหนีการควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นนายปุ่นก็ไม่มีความผิดฐานหลบหนีการควบคุม (อ้างนัยฎีกา 105/2506)แต่การที่คณะกรรมการไม่มีคำสั่งให้ทันเมื่อครบ 3 เดือน จนเวลาล่วงมาระยะหนึ่งดังกล่าว จึงได้พิจารณามีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ต่อไปเช่นนี้ไม่เป็นเหตุทำให้คำสั่งหลังๆ นั้นไม่ชอบด้วยประการใดเพราะตัวนายปุ่นก็ยังต้องควบคุมอยู่ตลอดมา เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาและมีคำสั่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ให้ควบคุมไว้ต่อไป ก็ต้องถือว่านายปุ่นได้กลับถูกควบคุมไว้โดยชอบด้วยประกาศดังกล่าวอีกเมื่อนายปุ่นหลบหนีการควบคุมจำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2509
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 43 ข้อ 2 มีความมุ่งหมายว่า ไม่ประสงค์จะให้ควบคุมบุคคลไว้ตลอดไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา จึงกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาและมีคำสั่งทุกระยะ 3 เดือนว่าให้ควบคุมต่อไปหรือให้ปล่อยไป การที่คณะกรรมการมิได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นจึงไม่ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว หากนายปุ่นหลบหนีการควบคุมในช่วงระยะเวลานั้น นายปุ่นก็ไม่มีความผิดฐานหลบหนีการควบคุม(อ้างนัยฎีกา 105/2506) แต่การที่คณะกรรมการไม่มีคำสั่งให้ทันเมื่อครบ 3 เดือน จนเวลาล่วงมาระยะหนึ่งดังกล่าว จึงได้พิจารณามีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ต่อไป เช่นนี้ไม่เป็นเหตุทำให้คำสั่งหลัง ๆ นั้นไม่ชอบด้วยประการใด เพราะตัวนายปุ่นก็ยังต้องควบคุมอยู่ตลอดมา เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาและมีคำสั่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ให้ควบคุมไว้ต่อไป ก็ต้องถือว่านายปุ่นได้กลับถูกควบคุมไว้โดยชอบด้วยประกาศดังกล่าวอีก เมื่อนายปุ่นหลบหนีการควบคุมจำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 205
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท