Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 204 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 204 หรือ มาตรา 204 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 204 ” หรือ “มาตรา 204 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีตำแหน่งหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ที่ต้องคุมขังตามอำนาจของศาล ของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้นหลุดพ้นจากการคุมขังไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
              ถ้าผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังไปนั้นเป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาของศาลหนึ่งศาลใดให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป หรือมีจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 204” หรือ “มาตรา 204 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2540
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149,157 และตามคำฟ้องโจทก์บรรยายยืนยันว่าจำเลยเรียกและรับเงินจำนวน 20,000 บาท จาก อ.สำหรับตนเองโดยมิชอบ เพื่อจะได้เปิดกุญแจห้องขังและปล่อยตัว อ. ให้หลบหนีไปจากห้องควบคุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวน กรมตำรวจ ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำการโดยประมาทหลับนอนขณะมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขัง เป็นเหตุให้ อ.หลบหนีการควบคุมไปอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 205 ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ศาลพิพากษาลงโทษไว้ ข้อแตกต่างตามคำฟ้องกับที่พิจารณาได้ความมิใช่ข้อแตกต่างระหว่างความผิดโดยเจตนาหรือประมาท แต่เป็นข้อแตกต่างที่ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205 ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้เพราะเกินคำขอ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ อ. หลุดพ้นจากการคุมขังโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้นั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 204,205 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2540
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 149,157 และตามคำฟ้องโจทก์บรรยายยืนยันว่า จำเลยเรียกและรับเงินจำนวน 20,000 บาทจาก อ.สำหรับตนเองโดยมิชอบ เพื่อจะได้เปิดกุญแจห้องขังและปล่อยตัว อ.ให้หลบหนีไปจากห้องควบคุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวน กรมตำรวจ ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำการโดยประมาทหลับนอนขณะมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขัง เป็นเหตุให้ อ.หลบหนีการควบคุมไปอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 205 ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ศาลพิพากษาลงโทษไว้ ข้อแตกต่างตามคำฟ้องกับที่พิจารณาได้ความมิใช่ข้อแตกต่างระหว่างความผิดโดยเจตนาหรือประมาท แต่เป็นข้อแตกต่างที่ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 205 ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ เพราะเกินคำขอ
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ อ.หลุดพ้นจากการคุมขังโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้นั้น เมื่อปรากฎว่าคดีนี้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา204, 205 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2534
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนปล่อยตัวผู้ต้องหารวม 3 คน แล้วนำผู้มีชื่อเข้าเป็นผู้ต้องหาแทนขณะควบคุมผู้ต้องหาทั้งสามดังกล่าวกับพวกจากศาลจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อไปคุมขังที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดง แต่จำเลยมิได้เรียกหรือรับเงินจากผู้ต้องหาเป็นการตอบแทนที่จำเลยปล่อยผู้ต้องหาดังกล่าวไป ทั้งผู้มีชื่อที่จำเลยนำเข้ามาแทนผู้ต้องหาทั้งสามที่จำเลยปล่อยตัวไปก็ไม่ปรากฏว่าเข้ามาแทนที่โดยไม่สมัครใจ ส่วนศาลจังหวัดสมุทรปราการ แม้จะได้อนุญาตให้ผัดฟ้องฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวนก็เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อควบคุมการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนให้เป็นไปโดยถูกต้อง มิใช่ผู้ที่จะเข้าไปมีส่วนรับผิดชอบจากการดำเนินคดีหรือไม่ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาแต่อย่างใด คดีจึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ผู้มีชื่อ หรือโดยเจตนาทุจริต อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204วรรคสอง เท่านั้น
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท