Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 198 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 198 หรือ มาตรา 198 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 198 ” หรือ “มาตรา 198 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 198” หรือ “มาตรา 198 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8244/2563
จำเลยฟ้องผู้เสียหายทั้งสองอ้างว่าผู้เสียหายทั้งสองปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต มีเจตนาช่วยเหลือ ก. และ ส. ให้พ้นจากการกระทำความผิด เป็นการกล่าวหาว่าผู้เสียหายทั้งสองกระทำความผิดอาญา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่ได้กระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ และที่จำเลยฟ้องว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่มีความยุติธรรมในใจให้กับตัวเองจริงหรือไม่ แม้จะเป็นการบรรยายแบบกึ่งคำถาม แต่เป็นการกล่าวทำนองตำหนิว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่มีความยุติธรรม ฟ้องจำเลยมีข้อความที่ดูหมิ่นผู้เสียหายทั้งสองอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษา เป็นความผิดฐานดูหมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2563
จำเลยบรรยายฟ้องในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามกระบวนพิจารณา ซึ่งรวมทั้งได้คัดใจความที่โจทก์ร่วมในฐานะผู้พิพากษามีคำสั่งในสำนวนความ แต่จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของโจทก์ร่วมในปัญหาข้อกฎหมายว่าการออกคำสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องและมีคำพิพากษายกฟ้อง รวมทั้งคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงเป็นการระบุบทกฎหมายในฐานความผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้องมิใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงให้แตกต่างจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามกระบวนพิจารณา แต่เป็นการยืนยันความเห็นที่แตกต่างในข้อกฎหมายตามความเข้าใจของจำเลย ไม่อาจถือว่าเป็นความเท็จ การฟ้องคดีอาญาของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 175จำเลยเป็นคู่ความในคดีและมีความรู้ทางกฎหมายพอสมควรย่อมทราบและเข้าใจถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีว่าโจทก์ร่วมใช้ดุลพินิจมีคำสั่งในคดีตามบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่เป็นการมีคำสั่งโดยอคติและไม่ยุติธรรม แต่จำเลยกลับนำคดีมาฟ้องกล่าวหาโจทก์ร่วมว่า การที่โจทก์ร่วมมีคำสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องและพิพากษายกฟ้องในคดีดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 นั้น เป็นการกล่าวหาว่าโจทก์ร่วมมีเจตนากระทำโดยมิชอบด้วยหน้าที่และข้อกล่าวหาในฟ้องย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า การใช้ดุลพินิจของโจทก์ร่วมไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการบั่นทอนและลดคุณค่าในการพิจารณาพิพากษาคดีในหน้าที่ผู้พิพากษาของโจทก์ร่วม ทั้งทำให้ประชาชนทั่วไปซึ่งมิได้รู้ข้อเท็จจริงในเชิงลึกของคดี ขาดความเชื่อมั่นหรือเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรม การฟ้องคดีของจำเลยเป็นการฟ้องแกล้งกล่าวหาโจทก์ร่วมตามอำเภอใจโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเสียประโยชน์ในผลแห่งคดี หาใช่เป็นการใช้สิทธิทางศาลตามปกติและโดยสุจริตไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการดูหมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดีตาม ป.อ. มาตรา 198


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19706/2555
จำเลยไม่ได้ยืนยันว่าโจทก์ร่วมทุจริต เพียงแต่สงสัยในพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้พิพากษาในคดีที่จำเลยถูกผู้อื่นฟ้องที่มีคำสั่งให้งดชี้สองสถานกับงดสืบพยานในคดีนั้น แม้ว่าเป็นอำนาจและดุลพินิจของโจทก์ร่วม แต่ก็เป็นการใช้ดุลพินิจและอำนาจที่คลาดเคลื่อน เพราะหลังจากนั้นศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งโจทก์ร่วมเป็นองค์คณะ และย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลย และที่โจทก์ร่วมสั่งไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไว้แล้ว นอกจากนี้จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 เวลา 10.50 นาฬิกา แต่โจทก์ร่วมไม่ได้สั่งอุทธรณ์ในวันดังกล่าว ต่อมาโจทก์ร่วมสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยประทับตรายางวันเดือนปี คือ เมษายน 2554 แต่มีการลบวันที่ซึ่งน่าจะเป็นวันที่ 27 และเขียนด้วยลายมือโจทก์ร่วมเป็นวันที่ 30 การที่จำเลยไปพบ ส. ซึ่งรับราชการในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 ที่โจทก์ร่วมรับราชการอยู่ในเขตอำนาจเพียงประสงค์จะให้ ส. ดูแลผู้พิพากษาในภาคให้มากกว่านี้ ไม่ได้ไปพบในลักษณะที่ว่าจะให้ตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ร่วม แม้ตามบันทึกเรื่องราวที่จำเลยมอบให้ ส. จะมีข้อความเกินเลยไปบ้าง แต่ก็มีลักษณะเป็นการปรับทุกข์และระบายความทุกข์กับ ส. ที่ดูแลผู้พิพากษาภายในภาค 7 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ และดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดีตาม ป.อ. มาตรา 136 และ 198
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท