Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 185 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 185 หรือ มาตรา 185 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 185 ” หรือ “มาตรา 185 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์หรือเอกสารใดที่ได้ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลให้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 185” หรือ “มาตรา 185 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2545
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. 2457 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 10

ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า"กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ดโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2539
การที่ศาลชั้นต้นหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของนายดาบตำรวจป. กับนางท. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นการกระทำตามคำสั่งศาลในชั้นบังคับคดีเพื่อนำเงินที่ศาลมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในคดีที่กรมตำรวจเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้ในอีกคดีหนึ่งไปเฉลี่ยให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหากกรมตำรวจเจ้าหนี้ที่ขอยึดไว้ก่อนเห็นว่าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องดำเนินการคัดค้านไม่ให้จำเลยนี้เข้ามาเฉลี่ยทรัพย์การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา185หรือมาตรา187 นายดาบตำรวจป. กับนางท.ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยรู้ว่านางท.ค้างชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลยแม้จะฟังว่านายก.หรือจำเลยกรอกข้อความลงในเอกสารที่มีลายมือชื่อของนายดาบตำรวจป.กับนางท.แล้วนำเอกสารดังกล่าวไปฟ้องเรียกเงินกู้อีกทั้งยังได้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายมอบให้แก่นายก.ไปก็เป็นการกรอกข้อความลงในเอกสารซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยเชื่อด้วยความสุจริตและได้กรอกลงไปตรงตามความเป็นจริงทั้งได้รับความยินยอมจากเจ้าของลายมือชื่อแล้วสัญญากู้ดังกล่าวย่อมไม่เป็นเอกสารปลอมการกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้จะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้เมื่อไม่ปรากฎพฤติการณ์ร่วมมือกันระหว่างจำเลยกับนายดาบตำรวจป. อันส่อเจตนาเพื่อมิให้กรมตำรวจในฐานะเจ้าหนี้ของนายดาบตำรวจป.ได้รับชำระหนี้แล้วการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2539
การที่ศาลชั้นต้นหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึด หรืออายัดทรัพย์สินของนายดาบตำรวจ ป. กับ นาง ท. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าว เป็นการกระทำตามคำสั่งศาลในชั้นบังคับคดีเพื่อนำเงินที่ศาลมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในคดีที่กรมตำรวจเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้ในอีกคดีหนึ่งไปเฉลี่ยให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากกรมตำรวจเจ้าหนี้ที่ขอยึดไว้ก่อนเห็นว่า หนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องดำเนินการคัดค้านไม่ให้จำเลยนี้เข้ามาเฉลี่ยทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 185 หรือ มาตรา 187

นายดาบตำรวจ ป. กับ นาง ท.ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยรู้ว่านาง ท. ค้างชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลย แม้จะฟังว่านาย ก. หรือจำเลยกรอกข้อความลงในเอกสารที่มีลายมือชื่อของนายดาบตำรวจ ป. กับนาง ท.แล้วนำเอกสารดังกล่าวไปฟ้องเรียกเงินกู้ อีกทั้งยังได้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายมอบให้แก่นาย ก. ไป ก็เป็นการกรอกข้อความลงในเอกสารซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยเชื่อด้วยความสุจริตและได้กรอกลงไปตรงตามความเป็นจริงทั้งได้รับความยินยอมจากเจ้าของลายมือชื่อแล้ว สัญญากู้ดังกล่าวย่อมไม่เป็นเอกสารปลอมการกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้จะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้ เมื่อไม่ปรากฎพฤติการณ์ร่วมมือกันระหว่างจำเลยกับนายดาบตำรวจ ป. อันส่อเจตนาเพื่อมิให้กรมตำรวจในฐานะเจ้าหนี้ของนายดาบตำรวจ ป. ได้รับชำระหนี้แล้ว การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท