Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 180 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 180 หรือ มาตรา 180 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 180 ” หรือ “มาตรา 180 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี ถ้าเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดีนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 180” หรือ “มาตรา 180 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11560/2557
การยื่นเอกสารเท็จในชั้นยื่นคำร้องต่อศาลว่าจำเลยในคดีดังกล่าวถึงแก่ความตาย ยังไม่ถึงชั้นพิจารณาพยานหลักฐานว่าจำเลยในคดีดังกล่าวถึงแก่ความตายไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10452/2557
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อร่วมกันในช่องผู้มอบอำนาจโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามที่มีการจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับเรื่องจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทเป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองดังกล่าวเท่านั้น และจะมีผลต่อรูปคดีหรือไม่เพียงใดเป็นเรื่องที่ศาลในคดีดังกล่าวจะพิจารณาวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงไม่ใช่พยานหลักฐานอันเป็นเท็จเพราะเหตุจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อโดยไม่มีอำนาจและไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 การส่งหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานต่อศาลจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21196/2556
คดีก่อนที่จำเลยทั้งสองฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินของเจ้ามรดก มีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิอยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งสองหรือไม่ การที่โจทก์อยู่ในที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับเจ้ามรดกเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนมรดกต่อมาไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่ต่อไป โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินอีก สัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้นจึงไม่ใช่ข้อสำคัญอันจะมีผลให้แพ้ชนะในคดี การที่จำเลยที่ 2 ไม่เบิกความถึงสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
ในคดีฟ้องขับไล่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง การบอกกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี การที่จำเลยที่ 2 เบิกความแตกต่างจากที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ จึงไม่เป็นความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท