Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 18 หรือ มาตรา 18 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 18 ” หรือ “มาตรา 18 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “โทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้
              (๑) ประหารชีวิต
              (๒) จำคุก
              (๓) กักขัง
              (๔) ปรับ
              (๕) ริบทรัพย์สิน
              โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิตมิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
              ในกรณีผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปี๒”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 18” หรือ “มาตรา 18 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2564
การที่ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี วรรคหนึ่ง กำหนดให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้ที่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นฝ่าฝืนมาตรา 43 (2) มีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่นั้น เป็นมาตรการทำนองเดียวกันกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยในการที่จะคุ้มครองประชาชนทั่วไปมิให้ได้รับอันตรายที่อาจเกิดจากการกระทำของผู้ที่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น และเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งดังกล่าว เมื่อศาลพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดตามมาตรานี้ ดังนี้ การสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้ที่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น จึงไม่ใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 กรณีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะลดเวลาสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 ได้
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2563
การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบขับขี่ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ไม่ใช่โทษที่ใช้สำหรับลงโทษผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 18 หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา 39 แต่ก็มีบทบังคับเช่นเดียวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยด้วยเจตนาคุ้มครองประชาชนหรือสังคมเพื่อป้องกันมิให้ผู้ถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ก่อความเสียหายแก่ผู้อื่น โดยเป็นการป้องปรามไม่ให้ผู้ขับขี่ไปกระทำความผิดอีก ทั้งตามนิยามของคำว่า รถ ใน พ.ร.บ.การจราจรทางบก มาตรา 4 (15) ก็ให้คำนิยามว่า รถ หมายถึง ยานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง ดังนั้น รถจักรยานยนต์และรถยนต์อยู่ในความหมายของคำว่า รถ ด้วย โดยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตจะอยู่ในลักษณะ 19 บทกำหนดโทษ ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงยานพาหนะชนิดใดชนิดหนึ่งไว้โดยเฉพาะ แต่เป็นการกล่าวถึงการขับขี่ยานพาหนะที่มีลักษณะเป็นการกระทำความผิดแล้วให้ศาลมีคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่เพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดไปยุ่งเกี่ยว ควบคุม ยานพาหนะทั้งหมดที่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่ ดังนั้นศาลจึงต้องพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ไม่ว่าใบอนุญาตขับขี่นั้นจะเกี่ยวข้องกับยานพาหนะที่ผู้กระทำความผิดขับขี่ในขณะกระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม แม้จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่รถคนละประเภทกับรถที่จำเลยขับขณะกระทำความผิด ศาลก็มีอำนาจพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยได้
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659 - 3661/2562
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 บัญญัติมาตรการทางกฎหมายไว้ 2 ส่วน ได้แก่ มาตรการทางอาญาฐานฟอกเงิน และมาตรการทางแพ่งที่ดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด โดยมาตรการส่วนหลังเป็นกระบวนการยึดทรัพย์สินทางแพ่ง (Civil forfeiture) ซึ่งพิจารณาตัวทรัพย์สินที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินว่ามีแหล่งที่มาจากการกระทำผิดอาญาที่เป็นความผิดมูลฐานของพระราชบัญญัติฉบับนี้หรือไม่ โดยไม่ต้องพิจารณาความผิดของบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์ ซึ่งจะต้องพิสูจน์ตามหลักการพิสูจน์พยานหลักฐานในคดีอาญา มาตรการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินจึงมิใช่โทษทางอาญาตาม ป.อ. มาตรา 18 (5)
แม้ความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (15) จะบัญญัติเพิ่มเติมภายหลังจากที่ได้กระทำความผิด ก็ไม่ถือว่าเป็นการใช้กฎหมายอาญาย้อนหลังเป็นโทษแก่บุคคล และเมื่อมีการบัญญัติเพิ่มเติมความผิดมูลฐานดังกล่าวย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับย้อนหลังไปทันที นับแต่วันที่มีการกระทำความผิดมูลฐานนั้น
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท