Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 177 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 177 หรือ มาตรา 177 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 177 ” หรือ “มาตรา 177 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 177” หรือ “มาตรา 177 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2564
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อและมีความเห็นแตกต่างกันนั้น มิได้มีกฎหมายบังคับว่าศาลจำต้องเลือกฟังจากผู้ตรวจพิสูจน์ที่มีอายุงานมากกว่าแต่อย่างใด


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2562
โจทก์ฟ้อง พ. จำเลย และ ล. เป็นคดีหมายเลขดำที่ 657/2556 ของศาลแพ่งธนบุรีให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนอง จำเลยให้การต่อสู้ว่า พ. ขอให้ ล. นำเงินไปไถ่ถอนจำนองบ้านและที่ดินจากธนาคาร แล้ว พ. กับจำเลยจะเปลี่ยนมาจดทะเบียนจำนองกับ ล. แทน ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีดังกล่าวคือการจดทะเบียนจำนองระหว่าง พ. และจำเลยกับ ล. เป็นการประกันหนี้ที่มีอยู่จริงหรือไม่ หรือเป็นการแสดงเจตนาลวงฉ้อฉลโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาคือเงินที่ไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นเงินของ พ. หรือ ล. คำเบิกความของจำเลยที่ว่าเงินไถ่ถอนจำนองเป็นของ ล. จึงเป็นข้อสำคัญในคดี เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงินที่ไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นเงินของ พ. มิใช่ของ ล. ตามที่จำเลยยืนยัน คำเบิกความของจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ 657/2556 ของศาลแพ่งธนบุรีฟังได้ว่าเป็นเท็จและเป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยจึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จ
ส่วนความผิดฐานฟ้องเท็จในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ. 4218/2557 ของศาลชั้นต้นเมื่อจำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วว่าเงินที่นำไปไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นเงินของ พ. ไม่ใช่ของ ล. การกล่าวอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์ฟ้องเท็จและเบิกความเท็จว่า เงินที่ไถ่ถอนจำนองเป็นของ พ. จึงเป็นการเอาความอันเป็นเท็จมาฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2561
ความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177 นั้น ข้อความเท็จที่ได้เบิกความต่อศาลในการพิจารณาคดีจะต้องเป็นข้อสำคัญในคดี ซึ่งหมายถึงต้องเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างแท้จริงถึงขนาดมีผลทำให้แพ้ชนะคดีกันได้โดยอาศัยคำเบิกความอันเป็นเท็จเท่านั้น ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงโดยวินิจฉัยถึงหน้าที่นำสืบของโจทก์ประกอบคำเบิกความตอบคำถามค้านของโจทก์และคำเบิกความของ พ. จำเลยในคดีดังกล่าวเป็นสำคัญ ส่วนคำเบิกความของจำเลยนั้น ศาลชั้นต้นไม่ได้นำมากล่าวถึง เพียงแต่นำมารับฟังประกอบข้อวินิจฉัยที่ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบกับคำเบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยของโจทก์เท่านั้น แล้ววินิจฉัยถึงพฤติการณ์ต่างๆ ดังที่หยิบยกขึ้นมากล่าว โดยมิได้นำคำเบิกความของจำเลย มาเป็นข้อวินิจฉัยให้มีผลเป็นการแพ้ชนะกัน ข้อความที่จำเลยเบิกความดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จได้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท