Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 176 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 176 หรือ มาตรา 176 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 176 ” หรือ “มาตรา 176 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๑๗๕ แล้วลุแก่โทษต่อศาล และขอถอนฟ้องหรือแก้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 176” หรือ “มาตรา 176 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8426/2558
แม้คดีที่พนักงานอัยการฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลชั้นต้น มีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ลุแก่โทษต่อศาลเช่นเดียวกับการถอนฟ้อง ตาม ป.อ. มาตรา 176 ย่อมได้รับประโยชน์ตาม 

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15243/2557
ความผิดฐานฟ้องเท็จเกิดขึ้นเมื่อมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาล การถอนฟ้องในระหว่างชั้นไต่สวนมูลฟ้องคงเป็นเหตุให้ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ตาม ป.อ. มาตรา 176

คำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อมีการยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องโดยลงลายมือชื่อโจทก์ทั้งสองมาในส่วนของคำขอท้ายฟ้องก่อนวันนัดไต่สวนมูลฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ดังนี้ กรณีถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้สั่งโจทก์ให้แก้ฟ้องให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง จนเห็นได้ว่าเป็นฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
บทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15232/2553
จำเลยเอาความอันเป็นเท็จมาฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 และนาง ป. เป็นจำเลยที่ 2 แต่ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นอนุญาต ดังนั้น เมื่อจำเลยเอาความเท็จมาฟ้องคดีโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและความผิดของจำเลยย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยฟ้องคดี แม้จำเลยที่ 2 ในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์จะให้การรับสารภาพก็หาใช่ว่าโจทก์มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 อันมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยดังข้อฎีกาของจำเลยไม่
บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 176 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการบรรเทาโทษให้แก่ผู้กระทำความผิด ดังนั้น เมื่อจำเลยถอนฟ้องในคดีอาญาที่เอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ก่อนมีคำพิพากษาย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ลุแก่โทษต่อศาลแล้ว ควรได้รับการบรรเทาโทษตามบทบัญญัตินั้น ทั้งกฎหมายหาได้บัญญัติว่าจำเลยต้องให้การรับสารภาพจึงจะได้รับการบรรเทาโทษ
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท