Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 175 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 175 หรือ มาตรา 175 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 175 ” หรือ “มาตรา 175 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 175” หรือ “มาตรา 175 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2564
ความผิดตามมาตรา 175 แห่ง ป.อ. มุ่งหมายเพียงว่าเอาความอันเป็นเท็จฟ้องกล่าวหาผู้อื่นในทางอาญาเท่านั้นก็เป็นความผิดแล้ว มิได้บัญญัติว่าเป็นความเท็จที่จะทำให้มีความผิดทางอาญา ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้แกล้งกล่าวหากันในทางอาญาอันจะทำให้ผู้ถูกกล่าวหาถูกฟ้องได้รับความเดือดร้อน


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8244/2563
จำเลยฟ้องผู้เสียหายทั้งสองอ้างว่าผู้เสียหายทั้งสองปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต มีเจตนาช่วยเหลือ ก. และ ส. ให้พ้นจากการกระทำความผิด เป็นการกล่าวหาว่าผู้เสียหายทั้งสองกระทำความผิดอาญา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่ได้กระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ และที่จำเลยฟ้องว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่มีความยุติธรรมในใจให้กับตัวเองจริงหรือไม่ แม้จะเป็นการบรรยายแบบกึ่งคำถาม แต่เป็นการกล่าวทำนองตำหนิว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่มีความยุติธรรม ฟ้องจำเลยมีข้อความที่ดูหมิ่นผู้เสียหายทั้งสองอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษา เป็นความผิดฐานดูหมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2562
โจทก์ฟ้อง พ. จำเลย และ ล. เป็นคดีหมายเลขดำที่ 657/2556 ของศาลแพ่งธนบุรีให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนอง จำเลยให้การต่อสู้ว่า พ. ขอให้ ล. นำเงินไปไถ่ถอนจำนองบ้านและที่ดินจากธนาคาร แล้ว พ. กับจำเลยจะเปลี่ยนมาจดทะเบียนจำนองกับ ล. แทน ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีดังกล่าวคือการจดทะเบียนจำนองระหว่าง พ. และจำเลยกับ ล. เป็นการประกันหนี้ที่มีอยู่จริงหรือไม่ หรือเป็นการแสดงเจตนาลวงฉ้อฉลโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาคือเงินที่ไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นเงินของ พ. หรือ ล. คำเบิกความของจำเลยที่ว่าเงินไถ่ถอนจำนองเป็นของ ล. จึงเป็นข้อสำคัญในคดี เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงินที่ไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นเงินของ พ. มิใช่ของ ล. ตามที่จำเลยยืนยัน คำเบิกความของจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ 657/2556 ของศาลแพ่งธนบุรีฟังได้ว่าเป็นเท็จและเป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยจึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จ
ส่วนความผิดฐานฟ้องเท็จในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ. 4218/2557 ของศาลชั้นต้นเมื่อจำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วว่าเงินที่นำไปไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นเงินของ พ. ไม่ใช่ของ ล. การกล่าวอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์ฟ้องเท็จและเบิกความเท็จว่า เงินที่ไถ่ถอนจำนองเป็นของ พ. จึงเป็นการเอาความอันเป็นเท็จมาฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท