Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 173 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 173 หรือ มาตรา 173 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 173 ” หรือ “มาตรา 173 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่า ได้มีการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 173” หรือ “มาตรา 173 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5151/2563
แม้พนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีแก่โจทก์ในความผิดข้อหายักยอก แต่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวโดยเห็นว่าหลักฐานไม่พอก็ตาม คำสั่งของพนักงานอัยการดังกล่าวเป็นเพียงความเห็นที่พิจารณาสั่งไปตามพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันคดีนี้ให้ต้องพิจารณาไปตามนั้น เพราะการกระทำที่จะเป็นความผิดข้อหาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ นอกจากจะต้องแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแล้ว ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จด้วย แต่คดีนี้จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนตามเรื่องราวที่เกิดขึ้นแก่จำเลย โดยมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าต้องดำเนินคดีแก่โจทก์ ส่วนการจะตั้งข้อหาดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่ ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยโดยตรง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2561
การที่จำเลยรู้ว่ามิได้เกิดเหตุลักทรัพย์รถกระบะ แต่กลับแจ้งแก่พนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายลักทรัพย์รถกระบะที่จำเลยเช่าซื้อไป เพื่อจะนำเงินที่ได้รับจากบริษัทผู้รับประกันภัยไปชำระค่างวดแก่ธนาคาร ก. ผู้ให้เช่าซื้อ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 อันเป็นบทบัญญัติเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่ว ๆ ไปอีก และเมื่อไม่เกิดมีความผิดอาญาฐานลักทรัพย์เกิดขึ้นในคดีนี้ จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2560
คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ทั้งสี่ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น ตาม ป.อ. มาตรา 83, 173 และ 174 ซึ่งความผิดดังกล่าวตามมาตรา 174 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท โจทก์ทั้งสี่จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นการสั่งที่ไม่ชอบด้วยบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ถือได้ว่าการมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ เป็นการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหาย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่และมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท