Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 172 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 172 หรือ มาตรา 172 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 172 ” หรือ “มาตรา 172 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 172” หรือ “มาตรา 172 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2563
ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อร้อยตำรวจเอก ส. เจ้าพนักงาน เมื่อร้อยตำรวจเอก ส. เป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนและสืบสวนในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน กรณีจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนและเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา การกระทำของจำเลยจึงต้องด้วยบทบัญญัติที่เป็นความผิดไว้โดยเฉพาะคือ ป.อ. มาตรา 172 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป อย่างไรก็ตาม จากทางนำสืบโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อเจตนาจะแกล้งให้ ภ. ต้องรับโทษทางอาญา การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นเพียงความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 172 เท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษในความผิดที่มีระวางโทษจำคุกถึงประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ตามมาตรา 174 วรรคสอง และ 181 (2)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2561
การที่จำเลยรู้ว่ามิได้เกิดเหตุลักทรัพย์รถกระบะ แต่กลับแจ้งแก่พนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายลักทรัพย์รถกระบะที่จำเลยเช่าซื้อไป เพื่อจะนำเงินที่ได้รับจากบริษัทผู้รับประกันภัยไปชำระค่างวดแก่ธนาคาร ก. ผู้ให้เช่าซื้อ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 อันเป็นบทบัญญัติเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่ว ๆ ไปอีก และเมื่อไม่เกิดมีความผิดอาญาฐานลักทรัพย์เกิดขึ้นในคดีนี้ จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14588/2558
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีพฤติการณ์ประวิงคดีและคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงให้งดไต่สวนมูลฟ้อง คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา และในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 196 บัญญัติว่า คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญและมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นต้องอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย แต่อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองที่อุทธรณ์ว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดไต่สวนพยานโจทก์ทั้งสองโดยอ้างว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าข้อความที่จำเลยทั้งสองแจ้งต่อพนักงานสอบสวนไม่เป็นข้อความเท็จว่าไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ถือว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองเป็นเพียงการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 196
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท