Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 17 หรือ มาตรา 17 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 17 ” หรือ “มาตรา 17 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “บทบัญญัติในภาค ๑ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 17” หรือ “มาตรา 17 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6664/2559
พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 64 บัญญัติว่า "ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" และ ป.อ. มาตรา 102 ที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยกระทำความผิดบัญญัติว่า "ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นว่ามานี้ด้วยกัน" ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่บัญญัติว่า "ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ทั้ง ป.อ. มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติในภาค 1 อันรวมถึง มาตรา 102 ไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องนำ ป.อ. มาตรา 102 ที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมาปรับแก่คดีนี้ด้วย ดังนี้ ความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถจึงเป็นความผิดลหุโทษ เมื่อ ป.อ. มาตรา 94 บัญญัติว่า "ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และความผิดซึ่งผู้กระทำได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีนั้น ไม่ว่าจะได้กระทำในครั้งก่อนหรือครั้งหลัง ไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษตามความในหมวดนี้" ซึ่งหมายความว่า ความผิดลหุโทษไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษในการกระทำความผิดอีกตาม ป.อ. มาตรา 92 เมื่อ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำ ป.อ. มาตรา 94 มาปรับแก่คดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 17 ด้วยเช่นกัน กรณีจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถตาม ป.อ. มาตรา 92 ได้
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5958/2559
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ใช้ชื่อของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เป็นทนายความ และให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความเป็นชื่อของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 แม้จะไม่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ได้กระทำเช่นนั้นในบริเวณศาลอันจะถือว่าเป็นตัวการ แต่ก็ถือเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 จึงมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 ประกอบ ป.อ. มาตรา 17 และ 84
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2554
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยโดยมิได้กำหนดวิธีการบังคับค่าปรับเมื่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการบังคับค่าปรับไว้จึงต้องนำ ป.อ. มาตรา 29, 30 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับอันเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลมาใช้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 17 ทั้งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดวิธีการบังคับค่าปรับไว้ ดังนี้ จะกักขังแทนค่าปรับเกินกำหนด 1 ปีไม่ได้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท