Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 168 หรือ มาตรา 168 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 168 ” หรือ “มาตรา 168 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดขัดขืนคำบังคับตามกฎหมายของพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดีหรือพนักงานสอบสวน ซึ่งให้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 168” หรือ “มาตรา 168 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2509
เมื่อมีผู้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดิน จำเลยย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(2) แล้ว ซึ่งในชั้นสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 พนักงานสอบสวนจะบังคับให้ผู้ต้องหาให้ถ้อยคำใดๆไม่ได้และมาตรา 135 ก็บัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนล่อลวงหรือขู่เข็ญผู้ต้องหาให้ให้การอีกด้วย จึงเห็นได้ว่าหมายเรียกของพนักงานสอบสวนที่ให้ผู้ต้องหามาเพื่อให้การ ไม่เข้าลักษณะเป็นคำบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168

กรณีผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(3) บัญญัติทางแก้ไว้ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับตัวมาได้ เป็นการลงโทษอยู่แล้ว จึงเห็นได้ว่าเจตนารมย์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168 หาได้มุ่งหมายจะใช้บังคับกับผู้ต้องหาที่ขัดขืนไม่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกด้วยไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2509)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2509
เมื่อมีผู้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดิน จำเลยย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (2)แล้ว ซึ่งในชั้นสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 พนักงานสอบสวนจะบังคับให้ผู้ต้องหาให้ถ้อยคำใด ๆ ไม่ได้ และมาตรา 135 ก็บัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนล่อลวงหรือขู่เข็ญผู้ต้องหาให้ให้การอีกด้วย จึงเห็นได้ว่า หมายเรียกของพนักงานสอบสวนที่ให้ผู้ต้องหามาเพื่อให้การ ไม่เข้าลักษณะเป็นคำบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168
กรณีผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(3) บัญญัติทางแก้ไว้ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับตัวมาได้ เป็นการลงโทษอยู่แล้ว จึงเห็นได้ว่า เจตนารมย์ของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 168 หาได้มุ่งหมายจะใช้บังคับกับผู้ต้องหาที่ขัดขืนไม่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกด้วยไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2485
ฟ้องขอไห้ลงโทสจำเลยตามกดหมายลักสนะอาญา ม.168 ถานเปนไจปล่อยไห้นักโทสหลบหนีไปจากเรือนจำ แต่ทางพิจารนาปรากตว่าจำเลยมิได้มีเจตนาปล่อยผู้ต้องคุมขังไห้หนีไป เปนแต่อนุญาตไห้นักโทสออกไปจากเรือนจำกรนีจึงไม่ข้าม.168 บันยายฟ้องขอไห้ลงโทสจำเลยตาม ม.168 ถานเดียวย่อมไม่เปนการเพียงพอที่จะไห้สาลลงโทสจำเลยสถานอื่นได้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท