Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 167 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 167 หรือ มาตรา 167 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 167 ” หรือ “มาตรา 167 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด แก่เจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดีหรือพนักงานสอบสวน เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการหรือประวิงการกระทำใดอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 167” หรือ “มาตรา 167 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8181/2547
คำว่า "พนักงานสอบสวน" ตาม ป.อ. มาตรา 167 มีความหมายว่า ต้องเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนั้นเท่านั้น ดังนั้น การให้เงินแก่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งไม่ได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนั้นเพื่อให้ช่วยเหลือไม่ดำเนินคดี จึงมิใช่เป็นการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่พนักงานสอบสวนตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตามมาตรานี้ คงมีความผิดตามมาตรา 144 เท่านั้น


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3700/2529
ข้อความในจดหมายที่จำเลยเขียนถึงบ.พนักงานสอบสวนมีลักษณะขอร้องให้บ.ช่วยเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปในชั้นสถานีตำรวจโดยไม่ต้องให้คดีถึงศาลเท่านั้นเพื่อทั้งฝ่ายผู้ต้องหาและฝ่ายเจ้าพนักงานตำรวจจะได้ไม่เสียเวลาและเป็นการประหยัดเพราะจำเลยมีความเห็นว่าไม่ว่าจะชั้นศาลหรือชั้นสถานีตำรวจก็ถูกลงโทษปรับเหมือนกันจึงไม่พอแปลความหมายได้ว่าจำเลยขอให้หรือรับว่าจะให้เงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่บ.เพื่อจูงใจไม่ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาดังกล่าวอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา144,167.


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2529
ข้อความในจดหมายที่จำเลยเขียนถึง บ.พนักงานสอบสวนมีลักษณะขอร้องให้ บ.ช่วยเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปในชั้นสถานีตำรวจโดยไม่ต้องให้คดีถึงศาลเท่านั้นเพื่อทั้งฝ่ายผู้ต้องหาและฝ่ายเจ้าพนักงานตำรวจจะได้ไม่เสียเวลาและเป็นการประหยัดเพราะจำเลยมีความเห็นว่าไม่ว่าจะชั้นศาลหรือชั้นสถานีตำรวจก็ถูกลงโทษปรับเหมือนกัน จึงไม่พอแปลความหมายได้ว่าจำเลยขอให้หรือรับว่าจะให้เงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่บ.เพื่อจูงใจไม่ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาดังกล่าว อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 144,167
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท