Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 165 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 165 หรือ มาตรา 165 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 165 ” หรือ “มาตรา 165 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือคำสั่ง ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 165” หรือ “มาตรา 165 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2557
ความผิดข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 157 นั้น มีองค์ประกอบเรื่องเจตนาพิเศษในการกระทำว่าเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยเจตนาจงใจไม่เสนอคำขอรับการประเมินวิทยฐานะของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงเจตนาพิเศษดังกล่าวคำฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
แม้เดิมคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ป้องกันหรือขัดขวางมิให้เป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งนั้น โดยไม่ส่งคำขอรับการประเมินวิทยฐานะ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กับมีคำขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 165 แต่โจทก์ขอแก้ฟ้องยกเลิกคำฟ้องเดิมทั้งหมด โดยข้อความที่แก้ไขใหม่ไม่มีข้อหาดังกล่าว จึงถือว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องในความผิดข้อหานี้

แม้ปัญหาเรื่องการบรรยายฟ้องในความผิดทั้งสองข้อหาข้างต้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2539
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องไม่ปรากฏว่าหมายเลขคดีที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงตามที่อ้างถึงเป็นหมายเลขคดีที่นอกสารบบหรือกระทำขึ้นโดยมิได้มีอยู่จริงหรือปราศจากอำนาจตรงกันข้ามเลขคดีที่อ้างถึงเป็นเลขคดีที่ได้แก้ไขและถือใช้อยู่ในสารบบของทางราชการที่เกี่ยวข้องจริงจึงเป็นหมายเลขคดีที่แท้จริงทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งเก้าปฏิบัติหรือละเว้นไม่ปฏิบัติต่อโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่มีการร้องทุกข์อย่างไรอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522มาตรา70การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา162,165,264,265,266และพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522มาตรา70 จำเลยทั้งเก้าปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของทางราชการมิได้มีเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2528
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ช. ผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำผิด พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 26 และ บ. ซึ่งเป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดกระทำผิด พระราชบัญญัติเลือกตั้งฯ มาตรา 26 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165 โจทก์ได้ร้องเรียนไปยังจำเลยทั้งห้า ให้มีการสอบสวนดำเนินคดีกับช. และ บ.และจำเลยทั้งห้ามิได้ดำเนินคดีกับบุคคลทั้งสองขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง ห้าตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165,200 เช่นนี้ เมื่อโจทก์มิใช่บุคคล ที่อาจร้องคัดค้านการเลือกตั้งได้ ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ มาตรา 78 จึงมิใช่ ผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้เสียหายเนื่องจากการกระทำผิดพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ มาตรา 26 ดังนั้นการที่โจทก์ ร้องเรียน ต่อจำเลยทั้งห้าให้ดำเนินคดีกับ ช. และ บ. และจำเลยทั้งห้ามิได้ดำเนินคดี กับบุคคลทั้งสองเมื่อ โจทก์มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในกรณีที่ ช. และ บ. กระทำผิดดังกล่าวโจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย สำหรับความผิดที่โจทก์ ฟ้องจำเลยทั้งห้าด้วยโจทก์จึงไม่ มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท