Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-26

มาตรา 160 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 160 หรือ มาตรา 160 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 160 ” หรือ “มาตรา 160 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่รักษาหรือใช้ดวงตราหรือรอยตราของราชการหรือของผู้อื่น กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ โดยใช้ดวงตราหรือรอยตรานั้น หรือโดยยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 160” หรือ “มาตรา 160 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2542
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ท้องที่เกิดเหตุโดยหน้าที่ราชการจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาคำขอและตรวจสอบที่ดินของผู้ยื่นคำขอเสียก่อน สภาพที่ดินเป็นทุ่งนาไม่มีต้นไม้ ส่วนตอไม้ที่พบนั้นอยู่ในที่ดินที่มีหลักฐานเป็นใบจอง เจ้าของที่ดินก็ไม่เคยยื่นคำขอนำไม้ ถ้าจำเลยตรวจสอบและเรียกเจ้าของที่ดินที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้ยื่นคำขอนำไม้ มาสอบถามก็จะทราบความจริงว่าคำขอนั้นเป็นเท็จและจำเลยก็ไม่เคยสอบถามคณะกรรมการการตรวจสอบไม้ว่า ผู้ยื่นคำขอมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยแท้จริงหรือไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ของเจ้าพนักงานป่าไม้
ทางราชการกรมป่าไม้ กรมที่ดิน และกระทรวงมหาดไทย ได้ตราระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้แล้วนำมาสวมรอยอ้างว่าเป็นไม้ที่เจ้าพนักงานได้ตรวจและอนุญาตให้ตัด การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้กระทำหรือยอมให้น้องชายจำเลยนำดวงตราประทับไม้ประจำตัวจำเลยไปกระทำการตีรอยตราดังกล่าว เป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่จำเลยย่อมเล็งเห็นผลเสียหายของการกระทำนั้นได้ และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว จำเลยจะอ้างว่ากระทำไปโดยสุจริตหรือกระทำไปโดยความสำคัญผิดหาได้ไม่


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2542
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ท้องที่เกิดเหตุโดยหน้าที่ราชการจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาคำขอและตรวจสอบที่ดินของผู้ยื่นคำขอเสียก่อน สภาพที่ดินเป็นทุ่งนาไม่มีต้นไม้ ส่วนตอไม้ที่พบนั้นอยู่ในที่ดินที่มีหลักฐานเป็นใบจอง เจ้าของที่ดินก็ไม่เคยยื่นคำขอนำไม้ ถ้าจำเลยตรวจสอบและเรียกเจ้าของที่ดินที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้ยื่นคำขอนำไม้ มาสอบถามก็จะทราบความจริงว่าคำขอนั้นเป็นเท็จและจำเลยก็ไม่เคยสอบถามคณะกรรมการตรวจสอบไม้ว่า ผู้ยื่นคำขอมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยแท้จริงหรือไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ของเจ้าพนักงานป่าไม้
ทางราชการกรมป่าไม้ กรมที่ดิน และกระทรวงมหาดไทยได้ตราระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้แล้วนำมาสวมรอยอ้างว่าเป็นไม้ที่เจ้าพนักงานได้ตรวจและอนุญาตให้ตัด การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้กระทำหรือยอมให้น้องชายจำเลยนำดวงตราประทับไม้ประจำตัวจำเลยไปกระทำการตีรอยตราดังกล่าว เป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่จำเลยย่อมเล็งเห็นผลเสียหายของการกระทำนั้นได้ และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว จำเลยจะอ้างว่ากระทำไปโดยสุจริตหรือกระ 

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2524
ตามระเบียบการตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้ และตามคำสั่งของป่าไม้เขต ที่ให้จำเลยออกไปตรวจวัด ประทับตราอนุญาตชักลากไม้ จำเลยจะต้องทำบัญชีอนุญาต ชักลากไม้ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้ เป็นเท็จก็เพื่อให้การประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบเสร็จสิ้นไปโดยบริบูรณ์ การทำบัญชีอนุญาต ชักลากไม้เป็นเท็จกับการประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบจึงเป็นกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ขั้นตอนที่จะต้องกระทำ จำเลยต้องประทับตราอนุญาต ชักลากไม้ก่อนแล้วจึงทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้ ก็หาทำให้ การกระทำของจำเลยเป็นสองกรรมต่างกันไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 160,162 แต่ละกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 157ด้วย ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี ข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษ จำเลยฐานทำไม้ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าการกระทำ ของจำเลยตามมาตรา 160,162 เป็นความผิดกรรมเดียวกัน พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมี ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160,162 และ 157 ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่ง เป็นบทหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลย หนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ลงโทษ จำคุกจำเลย กระทงเดียว 10 ปี เป็นการพิพากษา เพิ่มเติม โทษจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212ทำไปโดยความสำคัญผิดหาได้ไม่
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท