Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 16 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 16 หรือ มาตรา 16 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 16 ” หรือ “มาตรา 16 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “เมื่อศาลได้พิพากษาให้ใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใดแล้ว ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำเสนอของผู้นั้นเอง ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงานอัยการว่า พฤติการณ์เกี่ยวกับการใช้บังคับนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ศาลจะสั่งเพิกถอนหรืองดการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้นั้นไว้ชั่วคราวตามที่เห็นสมควรก็ได้”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 16” หรือ “มาตรา 16 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2502
ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปี และให้ส่งตัวไปกักกันอีก 3 ปีคดีถึงที่สุดก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินและประมวลกฎหมายอาญาเมื่อจำเลยถูกจำคุกครบ 1 ปี แล้วระหว่างที่จำเลยถูกกักกันอยู่ มีพระราชบัญญัติล้างมลทินฯและประมวลกฎหมายอาญา ประกาศใช้บังคับเมื่อความผิดของจำเลยที่ต้องคำพิพากษามาแล้วนั้น เข้าเกณฑ์ที่ศาลอาจพิพากษาให้กักกันได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา41โทษกักกันที่จำเลยได้รับอยู่จึงเปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา15 วรรคแรกแม้ตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ถือว่ากักกันเป็นโทษหากเป็นแต่เพียงวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่จำเลยยังต้องรับต่อไปก็ตามก็ยังไม่ถือว่าจำเลยได้พ้นโทษกักกันนั้นไปแล้ว เพราะยังต้องถูกกักกันอยู่ โดยผลแห่งคำพิพากษาของศาลความผิดในกรณีนี้ของจำเลยจึงยังไม่ถูกลบล้างตาม มาตรา3 พระราชบัญญัติลบล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 ศาลจะสั่งปล่อยจำเลยไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2502)
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2502
ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปีและให้ส่งตัวไปกักกันอีก 3 ปี คดีถึงที่สุดก่อนใช้ พ.ร.บ. ล้างมลทินและประมวลกฎหมายอาญา เมื่อจำเลยถูกจำคุกครบ 1 ปีแล้ว ระหว่างที่จำเลยถูกกักกันอยู่ มีพ.ร.บ. ล้างมลทินฯ และประมวลกฎหมายอาญา ประกาศใช้บังคับ เมื่อความผิดของจำเลยที่ต้องคำพิพากษามาแล้วนั้น เข้าเกณฑ์ที่ศาลอาจพิพากษาให้กักกันได้ตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 41 โทษกักกันที่จำเลยได้รับอยู่จึงเปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 15 วรรคแรกแม้ตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ถือว่ากักกันเป็นโทษ หากเป็นแต่เพียงวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่จำเลยยังต้องรับต่อไปก็ตาม ก็ยังไม่ถือว่าจำเลยได้พ้นโทษกักกันนั้นไปแล้ว เพราะยังต้องถูกกักกันอยู่ โดยผลแห่งคำพิพากษาของศาล ความผิดในกรณีนี้ของจำเลยจึงยังไม่ถูกลบล้างตาม ม. 3 พ.ร.บ. ล้างมลทินฯ พ.ศ. 2499 ศาลจะสั่งปล่อยจำเลยไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2502)
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2501
การที่จะรื้อฟื้นเอาคำพิพากษาในคดีอาญาถึงที่สุดแล้วมาเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง และมาตรา 3
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 12 ถึง 16 ได้บัญญัติเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้และได้มี มาตรา41 บัญญัติถึงเงื่อนไขในการที่จะกักกันไว้ด้วยซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติกักกันฯ พ.ศ.2479 มาตรา8,9. ต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่บัญญัติภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับ
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท