“มาตรา 153 หรือ มาตรา 153 อาญา คืออะไร?
“มาตรา 153 ” หรือ “มาตรา 153 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จ่ายทรัพย์ จ่ายทรัพย์นั้นเกินกว่าที่ควรจ่ายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]” อ่านบทความวิธีเอาผิดเจ้าพนักงงานได้ที่นี่
3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 153” หรือ “มาตรา 153 อาญา” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11741/2557
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 153 เป็นความผิดสำเร็จเมื่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์ ได้จ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่ายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่จำต้องคำนึงว่าการจ่ายทรัพย์นั้นต้องทำให้หนี้ระงับลงด้วย เพราะความผิดมาตรานี้ต้องการลงโทษเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์ได้จ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่ายเท่านั้น แม้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์จะชำระหนี้ด้วยเช็ค และ ก. ผู้ได้รับชำระหนี้ยังไม่ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเนื่องจากถูกเรียกทวงคืนก่อนอันทำให้หนี้นั้นยังไม่ระงับลงก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 153 แล้ว หาใช่เป็นเพียงความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์พยายามจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่ายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 153 ประกอบมาตรา 83 ไม่
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719 - 2720/2536
จำเลยเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายโดยเป็นเสมียนตรวจปล่อยสินค้าประจำโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นผู้ตรวจสอบสินค้าในรถยนต์บรรทุกและเขียนใบกำกับสินค้าตามที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งปล่อย ย่อมเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์หรือสินค้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 153
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719 - 2720/2536
จำเลยเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายโดยเป็นเสมียนตรวจปล่อยสินค้าประจำโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจสอบสินค้าในรถยนต์บรรทุกและเขียนใบกำกับสินค้าตามที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งปล่อย ย่อมเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์หรือสินค้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 153