Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 15 หรือ มาตรา 15 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 15 ” หรือ “มาตรา 15 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษใดได้เปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย และได้มีคำพิพากษาลงโทษนั้นแก่บุคคลใดไว้ ก็ให้ถือว่าโทษที่ลงนั้นเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยด้วย
              ในกรณีดังกล่าวในวรรคแรก ถ้ายังไม่ได้ลงโทษผู้นั้น หรือผู้นั้นยังรับโทษอยู่ ก็ให้ใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้นั้นต่อไป และถ้าหากว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมีเงื่อนไขที่จะสั่งให้มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย อันไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีของผู้นั้น หรือนำมาใช้บังคับได้ แต่การใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้นั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ยกเลิกการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย หรือร้องขอรับผลตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น แล้วแต่กรณี ให้ศาลมีอำนาจสั่งตามที่เห็นสมควร”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 15” หรือ “มาตรา 15 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2565
ผู้ร้องทั้งสองทราบกำหนดนัดและผลคดีรวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับทนายของผู้ร้องทั้งสองได้โดยตลอด แม้ผู้ร้องทั้งสองอยู่ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่ผู้ร้องทั้งสองมีทนายความในประเทศไทยที่มีอำนาจดำเนินคดีแทน และผู้ร้องทั้งสองสามารถติดต่อกับทนายความได้ ประกอบกับศาลชั้นต้นก็ยังคงเปิดทำการอยู่ เช่นนี้ ทนายความของผู้ร้องทั้งสองย่อมสามารถดำเนินการขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ การที่ผู้ร้องทั้งสองมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายในกำหนดจึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658/2560
สิทธิในการได้รับค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาผู้ตายกับเด็กหญิง ธ. และเด็กชาย อ. บุตรทั้งสองของผู้ตายจะเรียกจากผู้ทำละเมิดเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคน โจทก์ร่วมเป็นย่ามิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนเฉพาะคดีของบุตรทั้งสองของผู้ตายอันจะถือได้ว่ามีสิทธิยื่นคำร้องในนามบุตรของผู้ตายได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ทั้งมารดาของบุตรทั้งสองของผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ โจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะแทนบุตรทั้งสองของผู้ตายได้ คงมีสิทธิเฉพาะในส่วนของตนเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องของโจทก์ร่วมในส่วนที่โจทก์ร่วมขอให้จำเลยทั้งสามชำระค่าขาดไร้อุปการะแทนบุตรทั้งสองของผู้ตายด้วย จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14804/2556
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเขตชลประทานประเภท 2 ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 มาตรา 23, 37 วรรคหนึ่ง และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกจากเขตชลประทานชานคลอง 17 มิใช่กรณีที่พนักงานอัยการขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43, 44, 50 ผู้ร้องซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาเขตชลประทานชานคลอง จึงมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากที่โจทก์สามารถร้องขอได้
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท