Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 146 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 146 หรือ มาตรา 146 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 146 ” หรือ “มาตรา 146 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล หรือไม่มีสิทธิใช้ยศ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กระทำการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 146” หรือ “มาตรา 146 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8621/2553
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "...จำเลย...ไม่มีสิทธิใช้คำนำหน้านามของตนเองว่าคุณหญิง ได้บังอาจแสดงตัวอวดอ้าง... ว่าตนเองเป็นคุณหญิงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลอื่นหลงเชื่อ..." เป็นการบรรยายให้เห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธิใช้คำนำหน้าชื่อตนเองว่าคุณหญิงซึ่งเป็นสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และกระทำการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าตนมีสิทธิ ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 146 แล้ว จำเลยแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งตนไม่มีสิทธิแล้วถ่ายรูปไว้ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ไม่มีสิทธิใช้เครื่องราชอิสริยาภรณ์กระทำเช่นนั้นแล้ว ส่วนเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิหรือไม่เป็นเจตนาภายในจิตใจของจำเลย การที่จำเลยถ่ายรูปขนาด 20 นิ้ว คูณ 24 นิ้ว ติดไว้ในห้องรับแขกซึ่งไม่ใช่ที่ลับ แสดงว่าประสงค์ให้ผู้อื่นมาเห็นและต้องการให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีสิทธิใช้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามรูปถ่ายดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามมาตรา 146


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2521
จำเลยเป็นตำรวจแต่งเครื่องแบบไปขอเงินผู้เสียหาย โดยอ้างว่าผู้ใหญ่ให้มาเอา เมื่อผู้เสียหายว่าไม่มี จำเลยพูดว่าค้าขายใหญ่โตไม่คิดติดต่อกับตำรวจบ้างหรือแล้วจำเลยกลับไป ต่อมาอีกประมาณ 1 ชั่วโมง จำเลยกลับมาหาผู้เสียหายอีก และบอกว่ารองผู้กำกับการตำรวจให้มาเอาเงิน 3,000-4,000 บาท ผู้เสียหายจะให้เพียง 100 บาท จำเลยว่าไม่พอ ดังนี้ ทางพิจารณาไม่ได้ความว่าจำเลยแกล้งกล่าวหาจับกุมผู้เสียหายในข้อหาใด แล้วจำเลยใช้อำนาจหน้าที่ข่มขืนใจให้ผู้เสียหายมอบเงินแก่จำเลย การที่จำเลยขอเงินจากผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยเอง ที่จำเลยพูดว่าค้าขายใหญ่โตไม่คิดติดต่อกับตำรวจบ้างหรือ ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และ 337 ประกอบด้วยมาตรา 80


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2521
จำเลยเป็นตำรวจแต่งเครื่องแบบไปขอเงินผู้เสียหาย โดยอ้างว่าผู้ใหญ่ให้มาเอา เมื่อผู้เสียหายว่าไม่มี จำเลยพูดว่าค้าขายใหญ่โตไม่คิดติดต่อกับตำรวจบ้างหรือแล้วจำเลยกลับไป ต่อมาอีกประมาณ 1 ชั่วโมง จำเลยกลับมาหาผู้เสียหายอีก และบอกว่ารองผู้กำกับการตำรวจให้มาเอาเงิน 3,000 - 4,000 บาท ผู้เสียหายจะให้เพียง 100 บาท จำเลยว่าไม่พอ ดังนี้ ทางพิจารณาไม่ได้ความว่าจำเลยแกล้งกล่าวหาจับกุมผู้เสียหายในข้อหาใด แล้วจำเลยใช้อำนาจหน้าที่ข่มขืนใจให้ผู้เสียหายมอบเงินแก่จำเลย การที่จำเลยขอเงินจากผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยเอง ที่จำเลยพูดว่าค้าขายใหญ่โตไม่คิดติดต่อกับตำรวจบ้างหรือ ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎฆมายอายา มาตรา 148 และ 337 ประกอบด้วยมาตรา 80
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท