Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 14 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 14 แห่งประมวลกฎหมายอาญา


“มาตรา 14 หรือ มาตรา 14 อาญา คืออะไร?
“มาตรา 14 ” หรือ “มาตรา 14 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ในกรณีที่มีผู้ถูกใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยใดอยู่ และได้มีบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่จะสั่งให้มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นไป ซึ่งเป็นผลอันไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีของผู้นั้นได้ หรือนำมาใช้บังคับได้แต่การใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้นั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ยกเลิกการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย หรือร้องขอรับผลตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น แล้วแต่กรณี ให้ศาลมีอำนาจสั่งตามที่เห็นสมควร”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 14” หรือ “มาตรา 14 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2503
จำเลยต้องโทษฐานลักทรัพย์ ศาลจำคุก 6 เดือนต่อมาจำเลยต้องโทษฐานทำร้ายร่างกาย ต่อสู้เจ้าพนักงานและเมาสุราศาลรวมกะทงลงโทษจำคุก 1 ปีแต่ฐานทำร้ายร่างกายนั้นศาลวางโทษจำคุก 4 เดือนความผิดฐานทำร้ายร่างกายจึงนำมากักกันจำเลยไม่ได้คงเหลือโทษฐานลักทรัพย์ครั้งเดียวที่เป็นโทษฐานที่ระบุไว้ในมาตรา 41 ประมวลกฎหมายอาญาและมีกำหนดโทษจำคุกถึง 6 เดือนศาลจึงมีอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 14 ที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรศาลจึงอาจสั่งให้ยกเลิกการกักกันให้จำเลยได้
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2503
จำเลยต้องโทษฐานลักทรัพย์ศาลจำคุก 6 เดือน ต่อมาจำเลยต้องโทษฐานทำร้ายร่างกาย ต่อสู้เจ้าพนักงานและเมาสุรา ศาลรวมกะทงลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ฐานทำร้ายร่างกายนั้นศาลวางโทษจำคุก 4 เดือน ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จึงนำมากักกันจำเลยไม่ได้คงเหลือโทษฐานลักทรัพย์ครั้งเดียว ที่เป็นโทษฐานที่ระบุไว้ในมาตรา 41 ประมวลกฎหมายอาญา และมีกำหนดโทษจำคุกถึง 6 เดือน ศาลจึงมีอำนาจตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 14 ที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร ศาลจึงอาจสั่งให้ยกเลิกการกักกันให้จำเลยได้
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2498
โจทก์ฟ้องว่าวิวาทต่อสู้กันมีผู้บาดเจ็บถึงตาย + ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกลุ้มรุมทำร้ายผู้ตายฝ่ายเดียว ดังนี้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์สืบฟังไม่ได้ว่ามีการวิวาทต่อสู้กันดังฟ้อง ย่อมถือว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้อง ต้องยกฟ้อง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท