Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 136 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 136 หรือ มาตรา 136 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 136 ” หรือ “มาตรา 136 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 136” หรือ “มาตรา 136 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2564
การดูหมิ่นอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136 หมายถึง การด่า ดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยาม หรือสบประมาทผู้ที่ถูกกล่าวถึงอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้วพันตำรวจเอก ส. โจทก์ร่วม เรียกจำเลยกับพวกไปสอบถามถึงเหตุที่แจ้งความให้ดำเนินคดีแก่คนร้ายที่ร่วมกันปล้นรถยนต์ ซึ่งได้ความว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีชื่อ ส. เป็นผู้ครอบครองมิใช่จำเลย โจทก์ร่วมจึงให้ ส. เป็นผู้ให้ข้อเท็จจริง ส. แจ้งว่าวันเกิดเหตุพนักงานของบริษัทผู้ให้เช่าชื้อมายึดรถยนต์ของตน เป็นเหตุให้จำเลยเกิดความไม่พอใจกล่าวต่อโจทก์ร่วมว่า “ผู้กำกับเหลี่ยมใส่เราแล้ว” ทั้งที่การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ร่วมเป็นไปตามขั้นตอนการทำงานตามปกติ เพราะก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะรับแจ้งความเรื่องใดย่อมต้องสอบถามข้อเท็จจริงให้ได้ความชัดแจ้งว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นเสียก่อน เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งกันโดยการนำเอาความเท็จมาแจ้ง ที่จำเลยพูดกับโจทก์ร่วมด้วยถ้อยคำดังกล่าวอันหมายถึงโจทก์ร่วมใช้เล่ห์เหลี่ยมไม่รับแจ้งความตามที่ ส. แจ้ง ทำให้ผู้ที่ได้ยินเข้าใจว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่สุจริต ถ้อยคำดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น แต่เป็นการกล่าวถ้อยคำสบประมาทโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่ เป็นการดูหมิ่นโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8422/2558
การที่จำเลยที่ 1 พูดจาให้ร้ายผู้เสียหายขณะปฏิบัติหน้าที่เข้าตรวจค้นร้านโดยใช้คำว่า "ปลัดส้นตีน" ซึ่งเป็นคำดูหมิ่นเหยียดหยาม เป็นการกระทำความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ตาม ป.อ. มาตรา 136 สำเร็จแล้วกระทงหนึ่ง ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญขณะที่ผู้เสียหายเข้าตรวจภายในร้าน โดยจำเลยที่ 1 พูดขึ้นว่า ไปเอาปืนมายิงให้ตาย อย่าให้ออกไปได้ แล้วจำเลยที่ 2 วิ่งไปหยิบไม้เบสบอลมาตีผู้เสียหาย 1 ที จำเลยที่ 1 เอาไม้กวาดไล่ตีผู้เสียหาย เป็นการกระทำต่อเนื่องกันไป โดยมีเจตนาเดียวกันคือทำร้ายผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับการร่วมกันใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8016/2556
จำเลยกล่าวถ้อยคำว่า "ตำรวจแม่ง...ใช้ไม่ได้" เพราะรู้สึกว่าเจ้าพนักงานตำรวจไม่ให้ความสำคัญต่อคำชี้แจงของตน ทำให้จำเลยรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงกล่าวตำหนิการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ อันเป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น แต่ไม่ถึงขั้นมุ่งหมายที่จะด่า ดูถูกเหยียบหยามหรือสบประมาทเจ้าพนักงานตำรวจแต่อย่างใด จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท