Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 135 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 135 หรือ มาตรา 135 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 135 ” หรือ “มาตรา 135 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดกระทำการใด ๆ ต่อธงหรือเครื่องหมายอื่นใด อันมีความหมายถึงรัฐต่างประเทศซึ่งมีสัมพันธไมตรี เพื่อเหยียดหยามรัฐนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
    ผู้ใดกระทำการอันเป็นความผิดอาญาดังต่อไปนี้
              (๑) ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย หรือเสรีภาพของบุคคลใด ๆ
              (๒) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ
              (๓) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของบุคคลใด หรือต่อสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ
              ถ้าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน ผู้นั้นกระทำความผิดฐานก่อการร้าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


              การกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือหรือให้ได้รับความเป็นธรรมอันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการกระทำความผิดฐานก่อการร้าย
    ผู้ใด
              (๑) ขู่เข็ญว่าจะกระทำการก่อการร้าย โดยมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นจะกระทำการตามที่ขู่เข็ญจริง หรือ
              (๒) สะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย ตระเตรียมการอื่นใด หรือสมคบกัน เพื่อก่อการร้าย หรือกระทำความผิดใด ๆ อันเป็นส่วนของแผนการเพื่อก่อการร้าย หรือยุยงประชาชนให้เข้ามีส่วนในการก่อการร้าย หรือรู้ว่ามีผู้จะก่อการร้ายแล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้
              ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท
    ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๓๕/๑ หรือมาตรา ๑๓๕/๒ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น ๆ
    ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งมีมติของหรือประกาศภายใต้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนดให้เป็นคณะบุคคลที่มีการกระทำอันเป็นการก่อการร้ายและรัฐบาลไทยได้ประกาศให้ความรับรองมติหรือประกาศดังกล่าวด้วยแล้ว ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท”


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 135” หรือ “มาตรา 135 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2531
กรณีที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี นั้น บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย คือ อิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี มิใช่โจทก์ แม้โจทก์จะเคารพหรือนับถือเทิดทูนอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี ก็เป็นความผูกพันทางจิตใจของโจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างบุคคล จะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายด้วยไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปทูตฝ่ายวัฒนธรรมของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย ก็มีผลเพียงทำให้โจทก์เป็นตัวแทนของรัฐดังกล่าว ไม่มีผลทำให้เป็นตัวแทนของอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี เมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้เสียหายและมิได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2499
ตาม ก.ม.อาญา ม.131 เป็นบทบัญญัติเรื่องเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ของรัฐบาลซึ่งอยู่ในความปกครองรักษาตามหน้าที่ของตน.เมื่อฟ้องของโจทก์กล่าวซ้ำ ๆ กันแต่ในเรื่องจำเลยเรียกเก็บเงินค่าภาษีเกินกว่าที่ควรจะเก็บแล้วยักยอกเงินส่วนที่เรียกเก็บเกินมานั้นย่อมเห็นได้ชัดว่าโจทก์ฟ้องเจาะจงความผิดตาม ม.135 โดยตรงไม่มีข้อความให้เห็นว่ามุ่งถึง ม.131 เลย
เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏไม่ใช่เรื่องเรียกเก็บเงินค่าภาษีเกินกว่าที่ควรจะเก็บดังฟ้องเช่นนี้ ศาลต้องยกฟ้องศาล.


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2491
เสมียนวิสามัญในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีหน้าที่เก็บเงินค่าเช่าแผงลอยหาบเร่ส่งต่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นเจ้าพนักงานท่านใช้ให้มีหน้าที่เก็บทรัพย์อันต้องส่งต่อรัฐบาล เมื่อเรียกเก็บแป๊ะเจี๊ยะ จึงได้ชื่อว่าเรียกเก็บเงินหรือทรัพย์ที่ไม่ควรจะเก็บตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 135 ส่วนความผิดตามมาตรา 136 นั้น พนักงานผู้กระทำผิดจะต้องใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของตนเอง และต้องบังคับให้เขาให้ หรือให้เขา +ทรัพย์หรือผลประโยชน์อย่างใด ๆ +ควรจะได้ตาม ก.ม. ให้แก่ตัวเองหรือแก่ผู้อื่น การบังคับให้เขา+ทรัพย์ โดยอ้างว่าผู้อื่นให้มาเอา โดยการอาศัยอำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้อื่น ไม่ใช่ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของตัวเอง ทั้งเงินที่ +เอานั้นก็อ้างว่าจะไปส่งต่อองค์+ รัฐบาล ไม่ใช่ตัวเอาเองหรือให้+อื่นดังนี้ ยังไม่เป็นผิดตามมาตรา 136 +ฎีกาโจทก์กล่าววันในฟ้องและจำนวนเงินผิด +เพราะการพลั้งเผลอยังไม่พอจะเป็นเหตุ +ฎีกาโจทก์ ศาลต้องถือเอาฟ้องเดิม +โจทก์เป็นประมาณ
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท