Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 13 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 13 หรือ มาตรา 13 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 13 ” หรือ “มาตรา 13 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังได้มีการยกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยใด และถ้าผู้ใดถูกใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นอยู่ ก็ให้ศาลสั่งระงับการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นเสีย เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้นั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงานอัยการร้องขอ”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 13” หรือ “มาตรา 13 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2525
การแบ่งส่วนราชการภายในกรมนั้นต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อไม่เคยมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมการปกครองให้โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการของกรมการปกครอง คงมีแต่คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนมอบอาคารโรงพิมพ์และอุปกรณ์ทั้งสิ้นแก่กรมการปกครอง โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงหาเป็นส่วนราชการของกรมการปกครองไม่
ส่วนที่พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณฯ บัญญัติความหมายของส่วนราชการให้รวมถึงสำนักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐด้วยนั้น ก็เพื่อประโยชน์ในการที่สำนักงบประมาณจะจัดทำและควบคุมงบประมาณแผ่นดินของส่วนราชการ แต่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่เคยเสนอประมาณการรายรับรายจ่ายต่อสำนักงบประมาณ ทั้งไม่เคยมีการตั้งงบประมาณแผ่นดินไว้ดำเนินกิจการของโรงพิมพ์โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นส่วนราชการของกรมการปกครองตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว
เมื่อความผิดตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยนั้นในเบื้องต้นผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าพนักงานเสียก่อนและเมื่อได้ความว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่เป็นส่วนราชการของกรมการปกครองแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการดำเนินงานของโรงพิมพ์โดยตำแหน่งตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงไม่เป็นเจ้าพนักงาน ไม่อาจกระทำผิดตามฟ้องโจทก์ได้
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นคุณแก่จำเลยแล้ว ปัญหาว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นทรัพย์สินของกรมการปกครองหรือไม่ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย และที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในประเด็นอื่นที่ศาลอุทธรณ์มิได้นำมาเป็นเหตุยกฟ้องก็ไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2525
การแบ่งส่วนราชการภายในกรมนั้นต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม่เคยมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมการปกครองให้โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการของกรมการปกครอง คงมีแต่คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนมอบอาคารโรงพิมพ์และอุปกรณ์ทั้งสิ้นแก่กรมการปกครอง โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงหาเป็นส่วนราชการของกรมการปกครองไม่
ส่วนที่พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณฯ บัญญัติความหมายของส่วนราชการให้รวมถึงสำนักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐด้วยนั้นก็เพื่อประโยชน์ในการที่สำนักงบประมาณจะจัดทำและควบคุมงบประมาณแผ่นดินของส่วนราชการ แต่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่เคยเสนอประมาณการรายรับรายจ่ายต่อสำนักงบประมาณ ทั้งไม่เคยมีการตั้งงบประมาณแผ่นดินไว้ดำเนินกิจการของโรงพิมพ์โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นส่วนราชการของกรมการปกครองตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว
เมื่อความผิดตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยนั้นในเบื้องต้นผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าพนักงานเสียก่อนและเมื่อได้ความว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่เป็นส่วนราชการของกรมการปกครองแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการดำเนินงานของโรงพิมพ์โดยตำแหน่งตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงไม่เป็นเจ้าพนักงาน ไม่อาจกระทำผิดตามฟ้องโจทก์ได้
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นคุณแก่จำเลยแล้ว ปัญหาว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นทรัพย์สินของกรมการปกครองหรือไม่ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย และที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในประเด็นอื่นที่ศาลอุทธรณ์มิได้นำมาเป็นเหตุยกฟ้องก็ไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2522
กรณีที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรง ตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้นๆ เท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าว
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกส่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่า อธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ.กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก.รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิยดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อนซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก แล้วสอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ.กับพวก มิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของกรมอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ.เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบฐานอุทธรณ์ ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการ พนักงานอัยการกอง 7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดในฎีกาว่า ให้ ฟ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมาให้รับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเฉพาะเรื่องตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 15 ให้ ฟ. และ ย. มีอำนาจดำเนินคดีนี้ในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว ฟ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และ ฟ.กับย.มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท