Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 121 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 121 หรือ มาตรา 121 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 121 ” หรือ “มาตรา 121 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “คนไทยคนใดกระทำการรบต่อประเทศหรือเข้าร่วมเป็นข้าศึกของประเทศ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 121” หรือ “มาตรา 121 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8080/2538
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 91ต้องเป็นหนี้ที่มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อมูลแห่งหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดแล้วจึงหาอยู่ในบังคับตามมาตรา 91 ไม่แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองฝ่าฝืน พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 24โดยการที่จำเลยทั้งสองซึ่งศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วกระทำการออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ร่วม อันเป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นกับโจทก์ร่วมตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินประเภทเช็ค ซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองโดยมิใช่กรณีกระทำตามคำสั่งศาลหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จ้ดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ดังนั้น มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเป็นโมฆะ โจทก์ร่วมหามีสิทธินำเช็คพิพาทไปยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหาย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์คดีความผิดต่อส่วนตัวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 124 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 และโจทก์ร่วมก็ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 30 ศาลชอบที่จะยกฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมเสีย


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2499
อัยการโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้ง 4 สมคบกันถากทำลายตราประจำต้นไม้ของนายจงกลซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ แล้วสมคบกันตีราคาเลขหมายอื่น เป็นเลขของนายพิจิตรจำเลยขึ้นใหม่โดยทางการมิได้อนุญาตเพื่อประสงค์จะให้ไม้ของนายจงกลตกเป็นของนายพิจิตร จำเลย โดยจำเลยหวังผลประโยชน์จากนายพิจิตร
ดังนี้นายจงกลย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้เสียหายมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการโจทก์ได้ เพราะเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำไม้ที่ตีตราไว้ให้แล้วซึ่งนายจงกลมีสิทธิที่จะเข้ายึดถือครอบครองเป็นเจ้าของในภายหลัง (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2499)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2498
คำให้การพยานในชั้นสอบสวนจะรับฟังดังคำพยานที่เบิกความต่อศาลไม่ได้
พยานบอกเล่า ก.ม.ไม่รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ถ้าหากพยานได้รับคำบอกเล่าจากประจักษ์พยานเองก็อาจรับฟังประกอบหรือไม่ประกอบคำประจักษ์พยานนั้นได้แล้วแต่เหตุผล
การที่มีผู้อื่นมานั่งฟังการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวนโดยไม่ปรากฎว่าเจ้าพนักงานกระทำผิดหน้าที่อย่างใด หาทำให้การสอบสวนเสียไปไม่
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท