Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-25

มาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 11 หรือ มาตรา 11 อาญา คืออะไร?


“มาตรา 11 ” หรือ “มาตรา 11 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ถ้าผู้นั้นได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้นตามคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศมาแล้วทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้  ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว
              ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ได้ถูกฟ้องต่อศาลในต่างประเทศโดยรัฐบาลไทยร้องขอ ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า
              (๑) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้น หรือ
              (๒) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว”

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้ “มาตรา 11” หรือ “มาตรา 11 อาญา” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2506
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติความว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้น ถ้าจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่าของอัตราราคานั้น ก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกิน 4 เท่า ย่อมขัดบทกฎหมายมาตราดังกล่าว และจะนำมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับไม่ได้ เพราะได้มีบัญญัติไว้เป็นพิเศษ โดยพระราชบัญญัติศุลกากรต่างหากแล้ว
ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่กำหนดวันกักขังแทนค่าปรับไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 10 ควรจะกักขังได้นานกว่านั้น แต่โจทก์ไม่อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ไม่พิพากษาแก้ โจทก์ฎีกาขอให้แก้ไข ศาลฎีกาจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2499
ก.ม.อาญา ม.43 ถือว่า++ใดกระทำการใดลงโดย++จึงจะเอาโทษ หากระทำโดยมิได้เจตนาแล้วก็บัญญัติไม่เอาและหลัก ก.ม.ในข้อในี้ใช้ครอบครอง พ.ร.บ.ภาษีและเครื่องดื่ม พ.ศ.2495 ด้วยตามที่บัญญัติไว้ใน ม.11 ก.ม.อาญา ดังนั้นการที่จำเลยเจ้าของโรงงานน้ำอัดลมและปรากฏว่าขวดน้ำโซดาได้ปิดแสตมป์++ออกไปจากโรงงานของจำเลย หากยังมีทางสงสัยว่าจำเลยอาจได้แสตมป์นี้มาโดยสุจริตไม่รู้ว่าเป็นของปลอมแล้วจำเลยก็ไม่มีความผิดฐานมีและใช้แสตมป์เครื่องดื่มปลอม.
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2499
พ.ร.บ.ฝิ่นไม่ได้บัญญัติเรื่องการยกโทษปรับดังที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.อาญา ม.23 ให้เป็นกรณีพิเศษ ฉนั้นเมื่อเห็นสมควรศาลย่มยก ม.23 มาใช้แก่กรณีที่มีการลงโทษทั้งจำคุกและปรับตาม พ.ร.บ.ฝิ่นได้.
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท