Q: ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายกรณีเป็นเจ้าของสุนัข

กรณี​สุนัขวิ่งไล่รถจักรยานยนต์​ ทำให้ผู้ขับขี่เสียหลักรถล้ม แต่ไม่ได้บาดเจ็บมากแค่มีแผลถลอก ขณะขับขี่ผู้ขับมีการดื่มแอลกอฮอลล์​มา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุ​ที่ไม่มีสติในการควบคุมรถ เร่งเครื่องหนีทำให้เสียหลัก เพราะปกติจะขับขี่ผ่านทางนี้ประจำทุกวันแต่ก็ไม่เคยเกิดเหตุ​ดังกล่าว เวลาสุนัขเห่าหรือวิ่งออกไปไล่ขับ ผู้ขับจะเบารถแล้วสุนัขก็หยุดตาม หลังจากผู้บาดเจ็บกลับจากโรงพยาบาล ได้มีการไปคุยเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายช่วยเหลือทางคู่กรณี​ เจ้าของสุนัขได้มีการให้ค่าทำขวัญ​ไป500บาทเนื่องจากไม่ได้มีรายได้หลัก มีแค่เบี้ยชราและเงิน อสม.ทำให้คู่กรณี​ไม่พอใจเพราะต้องเอาเงินไปให้เจ้าของรถที่ให้ยืมไปเป็นหลักฐานเบิก พรบ.แทน เนื่องจากรถที่ประสบอุบัติเหตุ​ไม่มี พรบ. และเป็นรถเก่าใช้ขับขี่เข้าสวน จึงทำให้ทางผู้บาดเจ็บต้องเสียเงินเองเพราะเจ้าของสุนัขไม่สามารถช่วยเงินตามจำนวนที่เค้าต้องการได้ หากช่วยเรื่องค่ารักษาพยาบาลหรือซ่อมรถก็จะขอผ่อนจ่าย จึงเป็นสาเหตุ​ที่คู่กรณี​จะฟ้องเอาผิดกับเจ้าของสุนัข อยากทราบว่าหากต้องไปขึ้นศาลจริงๆทางคู่กรณี​จะมีความผิดหรือไม่ที่สร้างหลักฐานเท็จ เพื่อเรียกค่าเสียหาย และจะให้ช่วยเรื่อง พรบ. โดยทางเจ้าของสุนัข ช่วยได้เท่าที่มี ไม่ได้เพิกเฉย.. รบกวนให้คำแนะนำหน่อยค่ะ

เผยแพร่เมื่อ 2024-05-10

คำตอบจากทนาย (3)

A: 1. หากคู่กรณีนำหลักฐานเท็จมาฟ้อง หรือมีการเบิกความเท็จจริง ท่านสามารถแจ้งความได้ 2. ในส่วนของความเสียหายที่เกิดจากสุนัขของท่าน ท่านต้องรับผิดในความเสียหายนั้น แต่ท่านอาจต่อสู้ในเรื่องของการเมาแล้วขับเพื่อลดหลั่นความเสียหายหรือค่าเสียหายได้ 3. หากศาลพิพากษามาให้ท่านชำระแล้วท่านไม่มีจ่าย ทางฝ่ายโจทก์ก็จะต้องสืบทรัพย์บังคับคดีแก่ท่าน

เผยแพร่เมื่อ: 2024-05-10

A: ประเด็นสุนัขไล่รถ ต้องดูว่า สุนัขปกติอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของไหม และการดูแลปกติกระทำอย่างไร และต้องดูว่าเจ้าของได้ควบคุมตามปกติหรือไม่ ประมาทเลินเล่อไม่ควบคุมสุนัขให้ดีหรือไม่ แล้วค่อยมาดูความเสียหาย ตามที่เสียหายจริง ประเด็นขัขขี่เมาสุรา ก็ว่ากันอีกประเด็น ตาม พ.ร.บ.จราจรฯ

เผยแพร่เมื่อ: 2024-05-11

A: หากคู่กรณีนำสืบพยานหลักฐานเท็จ หรือเบิกความเท็จ ถือเป็นความผิดทางอาญาครับ เราสามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ครับ / ส่วนกรณีที่สุนัขทำให้เกิดความเสียหาย เจ้าของสัตว์ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายครับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่การเลี้ยงสัตว์ตามชนิดและวิสัยของสัตว์แล้ว หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมเกิดแม้ใช้ความระมัดระวัง นอกจากนี้หากปรากฏว่าเราปล่อยปละละเลยสัตว์ ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ เราอาจมีความทางอาญาได้ครับ / ส่วนที่อีกฝ่ายมีอาการมึนเมา เราอาจใช้เป็นเหตุในการลดหย่อนค่าเสียหายที่ต้องชำระได้ครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2024-05-11

คำถามที่คุณอาจสนใจ

Loading...
ทนายที่ให้คำปรึกษามากที่สุด
เดือน
ติดต่อเราทาง LINE