Q: สิทธิในการครอบคลองเสาไฟฟ้าส่วนบุคคล

- นาย ก กับ นาย ข เป็นเจ้าของที่ดินร่วมกันในฉโนดที่ดินหมายเลข 1 (ทางเข้าบ้าน) โดย นาย ก ได้ทำการติดตั้งเสาไฟฟ้าส่วนบุคคล และต่อสายไฟจากเสาของการไฟฟ้าพาดผ่านเสาส่วนบุคคลต้นดังกล่าวเข้าบ้านตนเอง - จากนั้น นาย ข ก็มาขอหุ้นใช้เสาไฟฟ้าส่วนบุคคลต้นนั้น พาดผ่านสายไฟเข้าบ้านของนาย ข เช่นกัน (มีค่าตอบแทนเป็นเงิน) - ผ่านไปประมาณ 10 ปี นาย ก มีความจำเป็นต้องซื้อที่ดินหมายเลข 2 (เป็นทางคู่ขนานกับหมายเลข1) และได้ขายกรรมสิทธ์ร่วมในที่ดินหมายเลข 1 ให้นาย ข - ในวันโอนที่ดินหมายเลข 1 ทั้งนาย ก และนาย ข ได้ทำหนังสือสัญญาร่วมกันเนื้อความว่า "เสาไฟฟ้่ส่วนบุคคลต้นดังกล่าวนั้นจะไม่มีการเลื่อนย้ายหรือลื้อถอน นอกจากซ่อมแซมในกรณีชำรุดเท่านั้น โดยยกให้เป็นสาธารณะ ให้ใช้ประโยชน์ร่ามกัน " ซึ่งในวันทำสัญญานั้นมี บุตรของนาย ก และบุตรของนาย ข ลงนามเป็นพยานไว้ด้วย (หนังสือสัญญาทำกันเองระหว่าง 2 ฝ่าย ไม่มีหน่วยงานราชการเป็นพยาน) - เวลาผ่านไปอีกประมาณ 10 ปี นาย ข ได้ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินหมายเลข 1 ให้กับบุตร ซึ่งเป็นคนเดียวกันกับคนที่ลงนามเป็นพยานไว้ตอนต้น - ปัจจุบัณ บุตรของนาย ข คนเดิม ยืนยันจะให้นาย ก ลื้อถอนเสาไฟฟ้าออกจากที่ดินของตน หรือ ให้ถอดสายไฟออกไป ไม่ให้ใช้ร่วมแล้ว เนื่องจากตนเองเป็นเจ้าของคนใหม่ โดยมีบิดาที่เคยทำสัญญาไว้นั้นเห็นด้วยกับความคิดนี้ และจะฟ้องดำเนินคดีฐานบุกลุกกับนาย ก ** ขอความกรุณาขอเรียนถามว่า ** 1. นาย ข และบุตรสามารถดำเนินคดีนาย ก ฐานบุกลุกได้หรือไม่ 2. นาย ก สามารถอ้างถึงหนังสือสัญญาที่ทำไว้ โดยไม่ย้ายเสาไฟฟ้า และ ใช้ประโยชน์จากเสาไฟฟ้าต้นนั้นตามเดิมได้หรือไม่ 3. ขาย ข อ้างว่าจะให้การไฟฟ้าเข้ามาดำเนินการ สามารถทำได้หรือไม่ 4. จากที่ที่ดินหมายเลข 1 เปลี่ยนมือจากบิดา ไปเป็น บุตร นั้น หนังสือสัญญาที่บิดาทำไว้ถือเป็นโมฆะหรือไม่ ขอบคุณครับ ขอรบกวนด้วยครับ

เผยแพร่เมื่อ 2023-10-22

คำตอบจากทนาย (1)

A: ผมมีความเห็นว่าแบบนี้นะ ข้อ 1.ในการณีที่ยังมีข้อพิพาทกันอยู่ว่าใครมีสิทธิดีกว่ากัน เป็นเรื่องที่แต่ละฝ่ายเชื่อโดยสุจริตว่าตนมีสิทธิจึงทำให้ขาดเจตนาไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกถ้าคุณไม่ได้เข้าไปทำอะไรนอกจากปล่อยให้เสาไฟยังอยู่ที่เดิมอ่ะนะ ข้อ 2.ข้อตกลงที่นาย ข. ยอมให้นาย ก. ตั้งเสาไฟในที่ดินเป็นการตั้งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพยสิทอันเกี่ยวกับอสังหาฯ อย่างหนึ่งและเป็นการได้มาโดยทางนิติกรรม(ข้อตกลง) เมื่อยังไม่จดทะเบียนสามารถบังคับใช้ได้เฉพาะระหว่าง ข. กับ ก. เท่านั้นใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ ดังนั้นการที่นาย ข. ยกที่ดินให้บุตรแม้บุตรจะทราบข้อตกลงแต่ต้องถือว่าบุตรเป็นบุคคลภายนอก(เพราะไม่ใช่การได้มาโดยการรับมรดก) นาย ก. จึงไม่สามารถยกข้อตกลงที่มีต่อนาย ข. ขึ้นยันบุตรของนาย ข. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ เมื่อบุตรของนาย ข. เจ้าของคนใหม่แจ้งให้รื้อถอน นาย ก. ก็ต้องรื้อถอนออกไป ข้อ 3.เมื่อแจ้งให้รื้อแล้วไม่รื้อเจ้าของที่ดินสามารถขอให้ศาลสั่งบุคคลภายนอกทำแทนโดยให้นาย ก. เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายได้เพราะเจ้าของอสังหาฯ มีสิทธิปฏิบัติเพื่อยังความเดือดร้อนเสียหายให้สิ้นไปได้ ข้อ 4.คำตอบอยู่ใน ข้อ 2. แล้ว

เผยแพร่เมื่อ: 2023-10-23

คำถามที่คุณอาจสนใจ

Loading...
ทนายที่ให้คำปรึกษามากที่สุด
เดือน
ติดต่อเราทาง LINE