คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8853/2543
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ม. 10 (1) (ก)
ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 10(1)(ก)ที่บัญญัติว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี กรณีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันที่จะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม และตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิตลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ข้อ 2(1) กรณีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภายใน 10 วัน นับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันนั้นออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน จากข้อความในบทบัญญัติและประกาศดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีภายใน 10 วันนับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันนั้นออกจากโรงอุตสาหกรรม วันที่นำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมนั้น หมายถึงแต่ละวันหรือระยะเวลาตั้งแต่ 00.00 นาฬิกาถึง 24 นาฬิกาของแต่ละวัน ดังนั้น ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีต้องถือตามปริมาณน้ำมันที่นำออกพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรม ณ เวลา24 นาฬิกาของแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีภายใน 10 วันนับแต่วันนั้นโดยไม่จำต้องคำนึงว่าการสูบจ่ายน้ำมันทางท่อแบบวงจรต่อเนื่องจะเสร็จสิ้นกระบวนการทุกขั้นตอนเมื่อใด
การที่โจทก์นำปริมาณน้ำมันตั้งแต่เริ่มต้นสูบจ่ายน้ำมันทางท่อพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมก่อนเวลา 24 นาฬิกาของวันหนึ่ง ไปรวมเพื่อชำระภาษีพร้อมกับปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมจนถึงวันเสร็จสิ้นกระบวนการสูบจ่ายน้ำมันหลังจากพ้นเวลา 24 นาฬิกา ไปยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีในคราวเดียวพร้อมกันในกำหนด 10 วันนับแต่วันเสร็จสิ้นกระบวนการสั่งจ่ายน้ำมันจึงไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะอ้างว่าปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการตรวจสอบการนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้อยู่ในความรู้เห็นและยินยอมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโรงงานเพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายออกไปทั้งหมดเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับจำนวนภาษีที่โจทก์ชำระ ไม่เกี่ยวกับกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี โจทก์ไม่อาจอ้างระเบียบดังกล่าวมาลบล้างกำหนดเวลาในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นกรมในรัฐบาลมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน โจทก์ส่งน้ำมันจากถังในบริเวณโรงกลั่นของโจทก์ที่อำเภอศรีราชาผ่านท่อส่งน้ำมันของบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด ไปยังคลังน้ำมันที่ตำบลลำลูกกา อำเภอธัญบุรีจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระบุรี การส่งน้ำมันออกจากถังผ่านท่อส่งน้ำมันจะต้องส่งต่อเนื่อง แต่ละผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เริ่มส่งออกจนเสร็จถ้าหยุดชั่วคราวแล้วส่งต่อจนเสร็จจะเกิดความเสียหายแก่ธุรกิจและเครื่องจักร การที่จำเลยใช้ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ควบคุมการสูบถ่ายน้ำมันลงเรือขนสินค้าตามท่าเทียบเรือต่าง ๆ ถ้ามีการส่งน้ำมันออกโดยเริ่มส่งในวันหนึ่งและเสร็จภายหลังเวลา 24 นาฬิกา คือ เสร็จในอีกวันหนึ่ง คำว่า "วัน" ซึ่งถือว่าเป็นวันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อเสียภาษี ก็คือวันที่นำน้ำมันออกเสร็จแต่ละผลิตภัณฑ์(คือวันรุ่งขึ้น) การตรวจสอบและคำนวณจำนวนน้ำมันเพื่อเสียภาษีก็คำนวณน้ำมันที่นำออกก่อนและหลังเวลา 24 นาฬิการวมกัน เนื่องจากไม่อาจหยุดเครื่องจักรเพื่อตรวจและคำนวณน้ำมันแยกจากกันได้ วันที่นำน้ำมันออกจากโรงงานเป็นเวลาทำการตามระเบียบของจำเลย และเป็นเวลาทำการตามปกติของกิจการส่งน้ำมันทางท่อของโจทก์ซึ่งจำเลยยอมรับตลอดมา และสอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/4 ซึ่งบัญญัติว่า ในทางราชการหรือทางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม "วัน" หมายความว่า เวลาทำการตามที่กำหนดขึ้นโดย ระเบียบข้อบังคับหรือเวลาทำการตามปกติของกิจการนั้นแล้วแต่กรณี จำเลยเพิ่งกำหนดระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยวิธีการคำนวณปริมาณน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพื่อเสียภาษีสำหรับกรณีส่งน้ำมันทางท่อพ.ศ. 2541 และประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2541 ระหว่างโจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษี วันที่ 9 เมษายน 2541 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีสรรพสามิตให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ665,406,949.19 บาท เงินเพิ่ม 9,981,104.14 บาท เมื่อยกเว้นตัวเลขที่เป็นเศษของบาทแล้วคงเรียกเก็บ 675,388,048 บาท กับภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทยอีก 67,538,804.80 บาท รวมทั้งสิ้น 742,926,852.80 บาทโดยให้นำปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายถึงเวลา 24 นาฬิกา มาชำระภาษีโดยไม่ต้องรอให้การสูบจ่ายเสร็จสิ้นในแต่ละผลิตภัณฑ์ ทำให้โจทก์ต้องชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มดังกล่าวโดยไม่มีค่าภาษีที่ต้องชำระ เนื่องจากโจทก์ได้ชำระเมื่อเสร็จสิ้นการสูบจ่ายในแต่ละผลิตภัณฑ์ โจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตตามมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 วันที่ 27 กรกฎาคม 2541 อธิบดีของจำเลยมีคำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ 26,616,277.97 บาทเงินเพิ่ม 9,981,104.14 บาท และภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทย 3,659,738.21บาท รวมภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น 40,257,120.32 บาท โดยให้เหตุผลว่าความรับผิดในอันที่จะต้องชำระภาษีสรรพสามิตภายใน 10 วัน นับแต่วันนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรม ให้เริ่มนับ ณ เวลา 24 นาฬิกาของวันที่นำน้ำมันออก โจทก์ยื่นคำอุทธรณ์ คำวินิจฉัย คำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตตามมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ให้งดเบี้ยปรับทั้งหมดส่วนเงินเพิ่มให้ลดลงเหลือร้อยละ 0.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทยอีกร้อยละ 10 โดยให้ชำระภาษีทั้งสิ้น 3,659,738.21 บาท เป็นเงินเพิ่มจำนวน3,327,034.74 บาท และภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทยจำนวน 332,703.47บาท โจทก์ไม่เห็นด้วยกับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีสรรพสามิตและคำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตเพราะในระหว่างวันที่ 1เมษายน ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2539 โจทก์ส่งน้ำมันออกจากถังผ่านท่อส่งน้ำมันรวม 51 วัน (51 เที่ยว) โดยส่งผ่านท่อติดต่อรวดเดียวจนครบจำนวนตามที่ขอและได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมโรงกลั่นซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย มีอยู่เพียงวันเดียวที่ใช้เวลาเกิน 24 ชั่วโมง การส่งน้ำมันแต่ละวันเป็นการเริ่มส่งในวันหนึ่งและเสร็จหลังเวลา 24 นาฬิกา เนื่องจากจำเลยถือเอาวันที่มีการนำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมเสร็จสิ้นเป็นหลักในการคำนวณจำนวนน้ำมันและเรียกเก็บภาษี โจทก์จึงยื่นรายการและเสียภาษีภายใน 10 วัน นับแต่วันนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งจำเลยก็รับชำระภาษีโดยไม่เรียกเก็บเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม และเหตุผลตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีสรรพสามิตของจำเลยขัดต่อระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันของจำเลยและขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/4 การที่จำเลยมีนโยบายให้นำปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายถึงเวลา 24 นาฬิกา มาชำระภาษีโดยไม่ต้องรอให้สูบจ่ายเสร็จสิ้นในแต่ละผลิตภัณฑ์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีกฎหมายหรือระเบียบใดกำหนดโดยชัดแจ้งให้หยุดคำนวณน้ำมันในเวลา 24 นาฬิกา พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ควบคุมโรงกลั่นของโจทก์ก็ไม่เคยสั่งให้หยุดการสูบจ่ายน้ำมันในเวลา 24 นาฬิกา เพื่อตรวจวัดและคำนวณน้ำมัน ซึ่งเมื่อไม่มีการหยุดและคำนวณในเวลา 24 นาฬิกา ก็ไม่มีจำนวนน้ำมันแน่นอนที่จะเสียภาษี คำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตที่ระบุว่าความรับผิดในอันจะต้องชำระภาษีสรรพสามิตภายใน10 วัน นับแต่วันนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้เริ่มนับ ณ เวลา24 นาฬิกาของวันที่นำน้ำมันออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตามมาตรา 10แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมกรณีการส่งน้ำมันออกจากถังผ่านท่อติดต่อกันจนกว่าจะเสร็จไม่สามารถคิดภาษีโดยอาศัยเวลาเป็นนาทีหรือชั่วโมงของการส่งน้ำมันออกได้ เพราะไม่อาจคำนวณจำนวนน้ำมันได้ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ คำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบรายการเสียภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยจำเลยหมายถึงเวลา 24 นาฬิกา จำเลยไม่มีสิทธิอ้างเวลาดังกล่าวเพื่อเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยวิธีการคำนวณปริมาณน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพื่อเสียภาษีสำหรับกรณีส่งน้ำมันทางท่อ ประกาศเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2541 ไม่มีผลย้อนหลังถึงการประเมินภาษีคดีนี้ขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการประเมินภาษีสรรพสามิต ภษ.02-08ที่ กค 0711/752 ลงวันที่ 9 เมษายน 2541 คำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิต ภษ. 02-10 เลขที่ กค 0710/26466 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม2541 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ คำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีโจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษี วันที่ 9 เมษายน 2541 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีสรรพสามิตให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ665,406,949.19 บาท เงินเพิ่ม 9,981,104.14 บาท เมื่อยกเว้นตัวเลขที่เป็นเศษของบาทแล้วคงเรียกเก็บ 675,388,048 บาท กับภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทยอีก 67,538,804.80 บาท รวมทั้งสิ้น 742,926,852.80 บาท โดยให้นำปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายถึงเวลา 24 นาฬิกา มาชำระภาษีโดยไม่ต้องรอให้การสูบจ่ายเสร็จสิ้นในแต่ละผลิตภัณฑ์ ทำให้โจทก์ต้องชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มดังกล่าวโดยไม่มีค่าภาษีที่ต้องชำระ เนื่องจากโจทก์ได้ชำระเมื่อเสร็จสิ้นการสูบจ่ายในแต่ละผลิตภัณฑ์ โจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตตามมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 วันที่ 27 กรกฎาคม2541 อธิบดีของจำเลยมีคำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ 26,616,277.97 บาท เงินเพิ่ม 9,981,104.14 บาท และภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทย 3,659,738.21 บาท รวมภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น40,257,120.32 บาท โดยให้เหตุผลว่าความรับผิดในอันที่จะต้องชำระภาษีสรรพสามิตภายใน 10 วัน นับแต่วันนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้เริ่มนับ ณ เวลา 24 นาฬิกาของวันที่นำน้ำมันออก โจทก์ยื่นคำอุทธรณ์คำวินิจฉัย คำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตตามมาตรา 89แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ คำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ให้งดเบี้ยปรับทั้งหมด ส่วนเงินเพิ่มให้ลดลงเหลือร้อยละ 0.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทยอีกร้อยละ 10 โดยให้ชำระภาษีทั้งสิ้น 3,659,738.21 บาท เป็นเงินเพิ่มจำนวน 3,327,034.74 บาทและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทยจำนวน 332,703.47 บาท โจทก์ไม่เห็นด้วยกับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีสรรพสามิตและคำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ คำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตเพราะในระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31ธันวาคม 2539 โจทก์ส่งน้ำมันออกจากถังผ่านท่อส่งน้ำมันรวม 51 วัน(51 เที่ยว) โดยส่งผ่านท่อติดต่อรวดเดียวจนครบจำนวนตามที่ขอและได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมโรงกลั่นซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมีอยู่เพียงวันเดียวที่ใช้เวลาเกิน 24 ชั่วโมง การส่งน้ำมันแต่ละวันเป็นการเริ่มส่งในวันหนึ่งและเสร็จหลังเวลา 24 นาฬิกา เนื่องจากจำเลยถือเอาวันที่มีการนำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมเสร็จสิ้นเป็นหลักในการคำนวณจำนวนน้ำมันและเรียกเก็บภาษี โจทก์จึงยื่นรายการและเสียภาษีภายใน 10 วัน นับแต่วันนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งจำเลยก็รับชำระภาษีโดยไม่เรียกเก็บเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มและเหตุผลตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีสรรพสามิตของจำเลยขัดต่อระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันของจำเลยและขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/4 การที่จำเลยมีนโยบายให้นำปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายถึงเวลา24 นาฬิกา มาชำระภาษีโดยไม่ต้องรอให้สูบจ่ายเสร็จสิ้นในแต่ละผลิตภัณฑ์นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีกฎหมายหรือระเบียบใดกำหนดโดยชัดแจ้งให้หยุดคำนวณน้ำมันในเวลา 24 นาฬิกา พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ควบคุมโรงกลั่นของโจทก์ก็ไม่เคยสั่งให้หยุดการสูบจ่ายน้ำมันในเวลา24 นาฬิกา เพื่อตรวจวัดและคำนวณน้ำมัน ซึ่งเมื่อไม่มีการหยุดและคำนวณในเวลา 24 นาฬิกา ก็ไม่มีจำนวนน้ำมันแน่นอนที่จะเสียภาษี คำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตที่ระบุว่าความรับผิดในอันจะต้องชำระภาษีสรรพสามิตภายใน 10 วัน นับแต่วันนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้เริ่มนับ ณ เวลา 24 นาฬิกาของวันที่นำน้ำมันออกไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมกรณีการส่งน้ำมันออกจากถังผ่านท่อติดต่อกันจนกว่าจะเสร็จไม่สามารถคิดภาษีโดยอาศัยเวลาเป็นนาทีหรือชั่วโมงของการส่งน้ำมันออกได้เพราะไม่อาจคำนวณจำนวนน้ำมันได้ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ คำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบรายการเสียภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยจำเลยหมายถึงเวลา 24 นาฬิกา จำเลยไม่มีสิทธิอ้างเวลาดังกล่าวเพื่อเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยวิธีการคำนวณปริมาณน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพื่อเสียภาษีสำหรับกรณีส่งน้ำมันทางท่อ ประกาศเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2541 ไม่มีผลย้อนหลังถึงการประเมินคดีนี้ ขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการประเมินภาษีสรรพสามิต ภษ.02-08 ที่ กค 0711/752ลงวันที่ 9 เมษายน 2541 คำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิต ภษ.02-10 เลขที่ กค 0710/26466 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2541 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ คำวินิจฉัยคำคัดค้านการประเมินภาษีสรรพสามิตภษ.02-09 เลขที่ 1/2542 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542
จำเลยให้การว่า ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม 2539 โจทก์สูบจ่ายน้ำมันส่งไปทางท่อข้ามวันรวม 50 เที่ยว คือเริ่มสูบจ่ายก่อนเวลา 24 นาฬิกาของวันหนึ่งแต่ไปเสร็จสิ้นหลังจากพ้นเวลา 24 นาฬิกาของวันดังกล่าวไปแล้ว คือ เสร็จสิ้นในเวลาของวันใหม่และโจทก์ชำระภาษีในส่วนที่มีการสูบจ่ายน้ำมันก่อนเวลา 24 นาฬิกาช้ากว่ากำหนด นอกจากนั้นการสูบจ่ายน้ำมันที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้นในวันเดียวกันในเดือนกรกฎาคม 2539โจทก์ชำระภาษีช้ากว่ากำหนด 1 เที่ยวตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ประกอบประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องขยายกำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิตลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ความรับผิดในอันที่จะต้องชำระภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ซึ่งสินค้าน้ำมันได้ขยายเวลาให้ชำระภาษีภายใน 10 วันนับแต่วันที่นำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรม การนับวันคงนับตั้งแต่เวลา12 ชั่วโมงก่อนเที่ยงวันเป็นเวลาเริ่มต้นและไปสิ้นสุดหลังเที่ยงวันอีก 12 ชั่วโมง จึงถือเป็นวันหนึ่ง ประเทศไทยถือกำหนดให้นับวันเช่นนี้มาตั้งแต่ปี 2460 การส่งจ่ายน้ำมันข้ามวัน เช่น เริ่มสูบจ่ายน้ำมันทางท่อตั้งแต่วันที่ 12เมษายน 2539 เวลา 22 นาฬิกา ไปสิ้นสุดวันที่ 13 เมษายน 2539 เวลา1.40 นาฬิกา จำนวนน้ำมันที่ส่งก่อนเวลา 24 นาฬิกา ภาระภาษีเกิดตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2539 ต้องชำระภาษีภายใน 10 วัน คือวันที่ 22 เมษายน2539 ส่วนน้ำมันที่ส่งภายหลังเวลา 24 นาฬิกา ถึงเวลา 1.40 นาฬิกาถือเป็นน้ำมันที่ส่งออกจากโรงอุตสาหกรรมในวันใหม่คือวันที่ 13 เมษายน2539 ภาระภาษีเกิดในวันที่ 13 เมษายน 2539 และต้องชำระภาษีภายในวันที่ 23 เมษายน 2539 วันที่โจทก์อ้างเป็นวันทำการตามปกติซึ่งกฎหมายตราขึ้นเพื่อสะดวกในการติดต่อกันเป็นคนละประเด็นกับการถือว่าภาระภาษีเกิด ณ วันที่เท่าไร จำนวนน้ำมัน วันเวลาในการเริ่มสูบจ่ายและสูบจ่ายเสร็จสิ้นแต่ละคราว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำตัวเลขมาจากโจทก์ นอกจากนั้นโจทก์ได้ให้ข้อเท็จจริงว่าการส่งน้ำมันทางท่อต้องใช้อัตราความเร็วสม่ำเสมอกันโดยตลอดจึงอยู่ในวิสัยแห่งวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จะคำนวณหาอัตราเฉลี่ยจำนวนน้ำมันที่ส่งในแต่ละคราวได้และสามารถคำนวณหาจำนวนแน่นอนของน้ำมันที่สูบจ่ายก่อนเวลา 24 นาฬิกาได้โดยไม่ต้องหยุดจ่ายน้ำมันตามข้ออ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีน้ำมันจำนวน 51 เที่ยว ล่วงเลยระยะเวลาตามกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินจึงชอบที่จะประเมินภาษีได้แต่ตัวภาษีที่ต้องชำระภายในเวลาที่กำหนดนั้นโจทก์ได้ชำระแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จึงประเมินเฉพาะเบี้ยปรับเงินเพิ่มและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทยซึ่งโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ชำระภาษีล่วงเลยระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมายแล้ว แต่โจทก์ไม่มีเจตนาทุจริตหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีแต่อย่างใด จึงให้งดเบี้ยปรับทั้งหมด ส่วนเงินเพิ่มให้ลดลงเหลือร้อยละ 0.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทยอีกร้อยละ 10 เป็นภาษีรวมทั้งสิ้น 3,659,738.21 บาท แยกเป็นเงินเพิ่ม 3,327,034.74 บาท และภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทย 332,703.47 บาท พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบของราชการ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้ยกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า "ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์มีว่า วันที่นำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมคือวันที่โจทก์ทำการสูบจ่ายน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมเสร็จสิ้นหรือไม่ ซึ่งตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 10(1)(ก) ที่บัญญัติว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี กรณีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันที่จะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมและตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิตลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ข้อ 2(1) กรณีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าน้ำมัน และผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีภายใน 10 วันนับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันนั้นออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนจากข้อความในบทบัญญัติและประกาศดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนว่ากฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีภายใน 10 วัน นับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมวันที่นำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมนั้น หมายถึง แต่ละวันหรือระยะเวลาตั้งแต่ 00.00 นาฬิกา ถึง 24 นาฬิกาของแต่ละวันดังนั้น ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีต้องถือตามปริมาณน้ำมันที่นำออกพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรม ณ เวลา 24 นาฬิกา ของแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีภายใน 10 วันนับแต่วันนั้นโดยไม่จำต้องคำนึงว่าการสูบจ่ายน้ำมันทางท่อแบบวงจรต่อเนื่องจะเสร็จสิ้นกระบวนการทุกขั้นตอนเมื่อใด การที่โจทก์นำปริมาณน้ำมันตั้งแต่เริ่มต้นสูบจ่ายน้ำมันทางท่อพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมก่อนเวลา24 นาฬิกา ของวันหนึ่งไปรวมเพื่อชำระภาษีพร้อมกับปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมจนถึงวันเสร็จสิ้นกระบวนการสูบจ่ายน้ำมันหลังจากพ้นเวลา 24 นาฬิกา ไปยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีในคราวเดียวพร้อมกันในกำหนด 10 วันนับแต่วันเสร็จสิ้นกระบวนการสั่งจ่ายน้ำมันจึงไม่ถูกต้อง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันและประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2507ที่ให้ผู้ควบคุมโรงงานรวบรวมหลักฐานพร้อมใบแจ้งจำนวนน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันของผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่นำออกจากโรงอุตสาหกรรมประจำวันส่งต่อสรรพสามิตจังหวัดและจำเลย และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยผู้มีหน้าที่ควบคุมการนำน้ำมันออกจากถังและเป็นผู้ตรวจวัดระดับของน้ำมันในถังก่อนและหลังการปล่อยออกจากถัง รวมทั้งเป็นผู้คำนวณปริมาณเป็นลิตรของน้ำมันที่ปล่อยออกประจำวันในแต่ละเที่ยวได้ระบุวันที่ในช่องก่อนจ่ายว่า วันที่ 24 ธันวาคม 2539 เวลา 22.15 นาฬิกาและระบุวันที่ในช่องหลังจ่ายว่า วันที่ 25 ธันวาคม 2539 เวลา 7.15 นาฬิกาและระบุวันที่จ่ายน้ำมัน วันที่ผู้คำนวณผู้ตรวจสอบ และผู้ควบคุมโรงงานลงชื่อไว้คือวันที่ 25 ธันวาคม 2539 ซึ่งเป็นวันสูบจ่ายเสร็จสิ้นโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่เคยคำนวณน้ำมัน ณ เวลา 24 นาฬิกา นั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการตรวจสอบการนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้อยู่ในความรู้เห็นและยินยอมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโรงงานเพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายออกไปทั้งหมดเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับจำนวนภาษีที่โจทก์ชำระไม่เกี่ยวกับกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยบันทึกไปเช่นนั้นก็เป็นการบันทึกไปตามความจริง โจทก์จึงไม่อาจอ้างระเบียบและการกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยดังกล่าวมาลบล้างกำหนดเวลาในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีได้ สำหรับระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยวิธีการคำนวณปริมาณน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพื่อเสียภาษีสำหรับกรณีส่งน้ำมันทางท่อ พ.ศ. 2541และประกาศใช้วันที่ 16 กรกฎาคม 2541 เป็นเรื่องจำเลยออกระเบียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น สำหรับผู้เสียภาษีมิได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดซึ่งแม้จะไม่มีระเบียบดังกล่าวความรับผิดในการชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันกรณีส่งน้ำมันทางท่อย่อมต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 10(1)(ก)ประกอบด้วยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิตดังที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ข้างต้น ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
หมายเลขคดีดำศาลฎีกา nan
แหล่งที่มา สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ชื่อคู่ความ โจทก์ - บริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน จำเลย - กรมสรรพสามิต
ชื่อองค์คณะ มงคล ทับเที่ยง ณรงค์ศักดิ์ วิจิตรสาระวงศ์ สบโชค สุขารมณ์
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน nan