คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1745 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142 (2)
แม้โฉนดที่ดินพิพาทได้เปลี่ยนจากชื่อ ผ.เจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกและโอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาท เหตุที่โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เนื่องจากทายาทอื่นยินยอมเพื่อจะได้ไถ่ถอนจำนอง จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคน เมื่อจำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8ซึ่งเป็นทายาทของ ศ.เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายต่อโจทก์ โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ให้แก่โจทก์ได้ แต่สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 6ไม่ได้ยินยอมขายให้โจทก์ จึงไม่ผูกพันส่วนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 6
ทางพิจารณาได้ความว่าทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ผ.มี 8 คนคือจำเลยทั้งแปด ที่ดินพิพาทจึงแบ่งออกเป็น 8 ส่วน จำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ได้คนละ 1 ส่วน จึงต้องไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท 4 ส่วนใน 8 ส่วนให้แก่โจทก์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (2)
nan
หมายเลขคดีดำศาลฎีกา nan
แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ชื่อคู่ความ โจทก์ - ๓๘ นายฝนทอง ศรีน้อย กับพวก จำเลย - ๙ นายวิทยา เกิดรัตนศักดิ์ กับพวก
ชื่อองค์คณะ ทวีชัย เจริญบัณฑิต ดำรุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดุสิต เพชรปลูก
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน ศาลจังหวัดชัยนาท - นายวิสุทธิ์ กลิ่นพร ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ - นายพันธาวุธ ปาณิกบุตร