คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2564
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 27
จำเลยประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า งานของจำเลยเป็นงานอาชีพด้านบริการ ดังนั้น โจทก์กับจำเลยจึงตกลงกำหนดเวลาทำงานปกติต่อวันกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่เมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วเวลาทำงานปกติต่อสัปดาห์ต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 2 จำเลยจัดให้โจทก์มีเวลาทำงานปกติตั้งแต่เวลาถึง 8.30 นาฬิกา ถึง 18.30 นาฬิกา หรือเวลา 9 นาฬิกา ถึง 19 นาฬิกา โดยให้พักเวลา 12 นาฬิกา ถึง 13 นาฬิกา เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในวันที่มีการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน… นั้น เป็นบทบัญญัติที่นอกจากจะกำหนดหน้าที่ให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหยุดพักระหว่างการทำงานในช่วงเวลาทำงานปกติระหว่างวันทำงานแล้ว การจัดเวลาพักจะต้องอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย เพื่อให้ลูกจ้างมีเวลาฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายให้สามารถทำงานต่อไปได้ อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลูกจ้างอันเป็นประโยชน์ต่อนายจ้าง แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้จัดเวลาพักระหว่างการทำงานในเวลา 12 ถึง 13 นาฬิกา ภายหลังจากเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 8.30 นาฬิกา หรือ 9 นาฬิกา แล้ว ซึ่งถือว่านายจ้างได้จัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงตามที่กฎหมายกำหนดแล้วก็ตาม แต่ในการทำงานภายหลังจากเวลา 13 นาฬิกา จนถึงเวลา 18.30 นาฬิกา หรือ 19 นาฬิกา แล้วแต่กรณี จำเลยมิได้จัดให้โจทก์มีเวลาพักหลังจากโจทก์ทำงานในช่วงบ่ายมาแล้วเกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน จึงเป็นการจัดเวลาพักที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ดี การที่โจทก์ฟ้องขอค่าล่วงเวลาเนื่องจากจำเลยไม่จัดเวลาพักระหว่างการทำงานในช่วงบ่ายซึ่งปรากฏว่ายังเป็นเวลาทำงานปกติของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าล่วงเวลาในช่วงเวลาดังกล่าวตามฟ้อง แต่พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการไม่จัดเวลาพักระหว่างการทำงานให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติ ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายโดยพิจารณาว่าค่าเสียหายดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเดียวกับค่าจ้างหรือค่าล่วงเวลา และให้คำนึงถึงการที่โจทก์ได้รับการจัดสรรเวลาพักหนึ่งชั่วโมงแล้วนั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
โจทก?ฟ?องและแก?ไขคําฟ?องขอให?บังคับจําเลยจ?ายสินจ?างแทนการบอกกล?าวล?วงหน?า 42,499.66 บาท เงินโบนัส 23,973.50 บาท ค?าเสียหายจากการเลิกจ?างที่ไม?เป?นธรรม 324,150 บาท ค่าล่วงเวลา 846,720 บาท พร?อมดอกเบี้ยอัตราร?อยละ 7.5 ต?อปี ของต?นเงินแต่ละจำนวนนับแต?วันฟ?องเป?นต?นไปจนกว?าจะชำระเสร็จ ค?าชดเชย 216,100 บาท ค?าจ?างสําหรับวันหยุดพักผ?อนประจําป? 9,720 บาท พร?อมดอกเบี้ยอัตราร?อยละ 15 ต?อป? ของต?นเงินแต่ละจำนวนนับแต?วันฟ?องเป?นต?นไปจนกว?าจะชําระเสร็จแก?โจทก?
จําเลยให?การและแก้ไขคําให?การขอให้ยกฟ?อง
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ?อง
โจทก?อุทธรณ?
ศาลอุทธรณ?คดีชํานัญพิเศษแผนกคดีแรงงาน พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่โจทก์ฟ้องขอค่าล่วงเวลาในเวลาพักตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวข้างต้น แล้วพิพากษาใหม่ต่อไปตามรูปคดี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
โจทก์และจำเลยฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และจำเลยมีเพียงประการเดียวว่า โจทก์มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามฟ้องหรือค่าเสียหายตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังเป็นยุติได้ความว่า งานของจำเลยเป็นงานอาชีพด้านบริการ ดังนั้น โจทก์กับจำเลยจึงตกลงกําหนดเวลาทํางานปกติต่อวันกี่ชั่วโมงก็ได? แต?เมื่อรวมเวลาทํางานทั้งสิ้นแล?วเวลาทำงานปกติต่อสัปดาห์ต้องไม?เกินสี่สิบแปดชั่วโมง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ?มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 2 จำเลยจัดให้โจทก์มีเวลาทำงานปกติตั้งแต่เวลา 8.30 นาฬิกา ถึง 18.30 นาฬิกา และเวลา 9 นาฬิกา ถึง 19 นาฬิกา โดยให้พักเวลา 12 นาฬิกา ถึง 13 นาฬิกา เมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในวันที่มีการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน… นั้น เป็นบทบัญญัติที่นอกจากจะกำหนดหน้าที่ให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหยุดพักระหว่างการทำงานในช่วงเวลาทำงานปกติระหว่างวันทำงานแล้วการจัดเวลาพักจะต้องอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย เพื่อให้ลูกจ้างมีระยะเวลาฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายให้สามารถทำงานต่อไปได้ อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลูกจ้างอันเป็นประโยชน์ต่อนายจ้าง แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้จัดเวลาพักระหว่างการทำงานให้แก่โจทก์ในเวลา 12 นาฬิกา ถึง 13 นาฬิกา ภายหลังจากเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 8.30 นาฬิกา หรือ 9 นาฬิกา แล้ว ซึ่งถือว่านายจ้างได้จัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงตามที่กฎหมายกำหนดแล้วก็ตาม แต่ในการทำงานภายหลังจากเวลา 13 นาฬิกา จนถึงเวลา 18.30 นาฬิกา หรือ 19 นาฬิกา แล้วแต่กรณี จำเลยมิได้จัดให้โจทก์มีเวลาพักหลังจากโจทก์ทำงานในช่วงบ่ายมาแล้วเกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน จึงเป็นการจัดเวลาพักที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ดี การที่โจทก์ฟ้องขอค่าล่วงเวลาเนื่องจากจำเลยไม่จัดเวลาพักระหว่างการทำงานในช่วงบ่ายซึ่งปรากฏว่ายังเป็นเวลาทำงานปกติของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าล่วงเวลาในช่วงเวลาดังกล่าวตามฟ้อง แต่พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการไม่จัดเวลาพักระหว่างการทำงานให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติ ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่จัดเวลาพักในช่วงบ่ายดังกล่าว และย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหาย โดยให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาว่า ค่าเสียหายดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเดียวกับค่าจ้างหรือค่าล่วงเวลา และให้คำนึงถึงการที่โจทก์ได้รับการจัดสรรเวลาพักหนึ่งชั่วโมงแล้วนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์และจำเลยฟังไม่ขึ้นพิพากษายืน
หมายเลขคดีดำศาลฎีกา ร.3587/2563
แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ชื่อคู่ความ โจทก์ - นางสาว ฉ. จำเลย - บริษัท ด.
ชื่อองค์คณะ รังสรรค์ กุลาเลิศ จักษ์ชัย เยพิทักษ์ เอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน ศาลแรงงานกลาง - นายจีรวัฒน์ สุวัตถิกุล
- นายเกื้อ วุฒิปวัฒน์