สารบัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2539

พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ม. 24 วรรคแรก, 26 (4) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 196 วรรคสอง

พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530มาตรา26(4)ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลเว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งไต่สวนคดีนั้นมีความเห็นแย้งหรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้เมื่อปรากฎว่าผู้พิพากษาซึ่งไต่สวนคดีให้คำรับรองแล้วว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ เงื่อนไขการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นข้อกำหนดในสัญญาจ้างเหมาระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งกำหนดถึงเรื่องการตั้งอนุญาโตตุลาการด้วยอนุญาโตตุลาการจะต้องชี้ขาดตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาดังนั้นการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านจ่ายเงินร้อยละ40เป็นเงินเยนโดยไม่ต้องคำนึงถึงการขึ้นหรือลงของค่าเงินเยนหรือบาทโดยเทียบได้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา196วรรคสองโดยมิได้ให้วิศวกรปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตามข้อกำหนดจึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ศาลไม่อาจให้บังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530มาตรา24วรรคแรก

เนื้อหาฉบับเต็ม

ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้คัดค้าน ทำ สัญญาจ้าง เหมา ผู้ร้อง ให้สร้าง ทางหลวง รวม 3 สาย ตกลง จ่าย ค่าจ้าง เป็น เงิน บาท และ เงินเยนญี่ปุ่น โดย ใช้ อัตรา แลกเปลี่ยน ของ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด 30 วัน ก่อน เปิด ซอง ประกวดราคา โดย มี ข้อตกลง ว่า หาก มี ข้อพิพาทเกิดขึ้น ระหว่าง ผู้ร้อง กับ ผู้คัดค้าน หรือ วิศวกร ของ ผู้คัดค้านให้ คู่กรณี ฝ่ายหนึ่ง แจ้ง อีกฝ่าย หนึ่ง และ ให้ อธิบดี กรมทางหลวงชี้ขาด หาก ไม่พอ ใจ คำชี้ขาด ก็ มีสิทธิ เสนอ ข้อพิพาท ให้ อนุญาโตตุลาการชี้ขาด เมื่อ ถึง เวลา จ่าย ค่าจ้าง ตาม สัญญา ค่า ของ เงินเยนญี่ปุ่น สูง ขึ้น เมื่อ เทียบ กับ เงิน บาท ผู้คัดค้าน ได้ หัก ค่าจ้าง ส่วน ที่ จะ ต้องจ่าย เป็น เงิน บาท ออก เป็น จำนวน เท่ากับ ค่า ของ เงินเยนญี่ปุ่น ที่ สูง ขึ้น ผู้คัดค้าน จ่าย ค่าจ้าง และ คืนเงิน ประกัน ผลงาน ให้ ผู้ร้องน้อยลง เป็น เงิน 38,316,131.59 บาท ผู้ร้อง แจ้ง ข้อโต้แย้ง ต่อวิศวกร ของ ผู้คัดค้าน และ อธิบดี กรมทางหลวง เพื่อ ชี้ขาด แต่ อธิบดีกรมทางหลวง กลับ ชี้ขาด ว่าการ หักเงิน ค่าจ้าง ดังกล่าว ถูกต้องผู้ร้อง จึง เสนอ ให้ ตั้ง อนุญาโตตุลาการ พิจารณา ข้อพิพาท อนุญาโตตุลาการของ ทั้ง สอง ฝ่าย ตกลง ร่วมกัน ตั้ง ศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์ เป็น ผู้ชี้ขาด ศาสตราจารย์ จิตติ ได้ ชี้ขาด ว่า ตาม สัญญา เงิน ค่าจ้าง แบ่ง ออก เป็น เงิน บาท และ เงินเยนญี่ปุ่น เป็น อัตรา ส่วน 60 ต่อ 40 โดย ถือ อัตรา แลกเปลี่ยน ของ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด 30 วัน ก่อน เปิด ซอง ประกวดราคา ผู้คัดค้าน จะ หักเงิน ส่วน ที่มาก ขึ้นเพราะ มูลค่า เงินเยนญี่ปุ่น ที่ สูง ขึ้น จาก จำนวนเงิน บาท ใน ส่วน ที่ กำหนด จาก จำนวน อัตรา ส่วน 60 หรือ เทียบ เป็น ร้อยละ 60 ของ จำนวนเงิน ค่าจ้าง ไม่ได้ เพราะ จะ ทำให้ อัตรา ส่วน เงิน บาท และ เงินเยนญี่ปุ่น คลาดเคลื่อน ไป จาก ร้อยละ 60 ต่อ 40 ผู้ชี้ขาด จึง ชี้ขาด ให้ ผู้คัดค้านจ่ายเงิน แก่ ผู้ร้อง จำนวน 38,316,131.59 บาท ภายใน 30 วัน นับแต่ วันชี้ขาด พร้อม ดอกเบี้ย แต่ ผู้คัดค้าน เพิกเฉย ขอให้ บังคับ ผู้คัดค้านชำระ เงิน พร้อม ดอกเบี้ย ตาม คำชี้ขาด แก่ ผู้ร้อง

ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า คำชี้ขาด ไม่ ตรง ตาม ข้อกำหนด ในสัญญา ระหว่าง ผู้คัดค้าน กับ ผู้ร้อง และ ไม่ ตรง ตาม เจตนา อัน แท้จริงผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน มี เจตนา ตกลง ค่า งาน ตาม สัญญา เป็น เงิน บาทอย่างเดียว โดย มี เงื่อนไข การ จ่ายเงิน บางส่วน ของ เงิน บาท เป็น เงินญี่ปุ่น ตาม เงื่อนไข ที่ กำหนด ผล การ ปรับปรุง การ จ่ายเงิน ตาม สัญญา แต่ละ ครั้ง โดย วิศวกร ส่วน ของ เงินเยนญี่ปุ่น เมื่อ เทียบ เป็น เงิน บาท เกินกว่า ร้อยละ 40 ของ ยอด รวม เงิน บาท ใน การ จ่ายเงินแต่ละ ครั้ง จำนวนเงิน ส่วน ที่ เกิน จึง ต้อง หัก จาก ส่วน ของ เงิน บาทเมื่อ รวม ส่วน ของ เงิน บาท และ เงินเยนญี่ปุ่น ของ การ จ่ายเงิน แต่ละ ครั้ง แก่ ผู้ร้อง ผู้ร้อง ได้รับ ชำระ เต็ม ร้อยละ 100 ของจำนวนเงิน ตาม สัญญา ผู้คัดค้าน จึง หักกลบลบหนี้ ตาม วิธี ทาง บัญชี ในส่วน ของ เงิน บาท ที่ จะ ต้อง จ่าย แก่ ผู้ร้อง ตาม ความสะดวก ใน การ ปฏิบัติงาน ที่ ผู้ชี้ขาด ได้ ชี้ขาด ว่า ผู้คัดค้าน ถูก บังคับ โดย สัญญา ให้ จ่าย เงินเยนญี่ปุ่น เป็น อัตรา ร้อยละ 40 ไม่ว่า มูลค่า ของ เงินญี่ปุ่น หรือ มูลค่า ของ เงิน บาท จะ เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง ก็ ตาม ซึ่ง อนุโลม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง นั้น จึง ไม่ถูกต้องเพราะ สัญญา ที่ ผู้คัดค้าน ทำ กับ ผู้ร้อง มิใช่ สัญญา ทั่วไป แต่ เป็นสัญญา พิเศษ เฉพาะ กรณี คำชี้ขาด ของ ผู้ชี้ขาด ทำให้ ข้อกำหนด พิเศษไร้ผล ผู้ร้อง ทราบ ถึง วิธีการ ดังกล่าว ดี อยู่ แล้ว แต่ ไม่เคย โต้แย้งทั้ง ไม่เคย สงวนสิทธิ เพื่อ เรียกร้อง เงิน จำนวน ที่ ผู้ร้อง เข้าใจ ว่าควร ได้รับ เมื่อ มูลค่า ของ เงินเยนญี่ปุ่น สูง ขึ้น ผู้ร้อง จึง เรียกร้อง ให้ ผู้คัดค้าน จ่าย ค่า งาน เป็น เงินเยนญี่ปุ่น อย่าง ที่ ไม่มี การ ปรับปรุง เป็น การ ใช้ สิทธิ ไม่สุจริต ผู้คัดค้าน ได้ จ่ายเงิน แก่ผู้ร้อง ครบถ้วน ตาม สัญญา แล้ว จึง ไม่ต้อง ปฏิบัติ ตาม คำชี้ขาดขอให้ ยกคำร้อง

ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน ชำระ เงิน จำนวน 38,316,131.59บาท พร้อม ดอกเบี้ย

ผู้คัดค้าน อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก อุทธรณ์ ของ ผู้คัดค้าน

ผู้คัดค้าน ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ ผู้คัดค้านเป็น ข้อ แรก ว่า อุทธรณ์ ของ ผู้คัดค้าน ต้องห้าม อุทธรณ์ หรือไม่เห็นว่า พระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 บัญญัติ ว่า"ห้าม มิให้ อุทธรณ์ คำสั่ง หรือ คำพิพากษา ของ ศาล เว้นแต่ (4) ผู้พิพากษาซึ่ง ไต่สวน คดี นั้น มี ความเห็น แย้ง หรือ ได้รับ รอง ว่า มีเหตุ อันควรอุทธรณ์ ได้ " ปรากฎ ว่า ใน วันที่ 3 พฤษภาคม 2534 วันเดียว กับ ที่ผู้ร้อง ยื่น อุทธรณ์ นั้น ผู้คัดค้าน ได้ ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาลชั้นต้นรับรอง ว่า อุทธรณ์ ของ ผู้คัดค้าน มีเหตุ อันควร อุทธรณ์ ได้ และผู้พิพากษา ซึ่ง ไต่สวน คดี นี้ ให้ คำรับ รอง แล้ว ว่า มีเหตุ อันควรอุทธรณ์ ได้ อุทธรณ์ ของ ผู้คัดค้าน เข้า ข้อยกเว้น ที่ จะ อุทธรณ์ ได้ตาม มาตรา 26(4) ดังกล่าว แล้ว จึง ไม่ต้องห้าม อุทธรณ์ แต่อย่างใดที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าคดี ต้องห้าม อุทธรณ์ และ พิพากษายก อุทธรณ์ของ ผู้คัดค้าน นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา

ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ต่อไป ว่า ผู้คัดค้าน จะ ต้อง ปฏิบัติ ตามคำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ หรือไม่ ปัญหา นี้ ศาลอุทธรณ์ ยัง มิได้วินิจฉัย มา ศาลฎีกา เห็นว่า ผู้คัดค้าน ฎีกา ขอให้ ศาลฎีกา วินิจฉัยปัญหา นี้ ด้วย แล้ว ศาลฎีกา จึง เห็นสมควร วินิจฉัย ปัญหา นี้ ไป เสียทีเดียว โดย ไม่จำต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ก่อนศาลฎีกา เห็นว่า เงื่อนไข การ จ่ายเงิน นี้ เป็น ข้อกำหนด ใน สัญญาจ้างเหมา ระหว่าง ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ซึ่ง กำหนด ถึง เรื่อง การ ตั้งอนุญาโตตุลาการ ด้วย อนุญาโตตุลาการ จะ ต้อง ชี้ขาด ตาม เงื่อนไขที่ กำหนด สัญญา ดังนั้น การ ที่ อนุญาโตตุลาการ ชี้ขาด ให้ ผู้คัดค้านจ่ายเงิน ร้อยละ 40 เป็น เงินเยน โดย ไม่ต้อง คำนึง ถึง การ ขึ้น หรือ ลง ของ ค่า เงินเยน หรือ บาท โดย เทียบ ได้ ตาม นัย มาตรา 196วรรคสอง แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดย มิได้ กำหนด ให้วิศวกร พิจารณา ปรับปรุง อัตรา แลกเปลี่ยน เงินตรา ตาม ข้อ 1.9.2 วรรคสองจึง เป็น คำชี้ขาด ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ แก่ ข้อพิพาท ในคดี นี้ ศาล ไม่อาจ ให้ บังคับ ตาม คำชี้ขาด นั้น ได้ ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ใน พระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 24 วรรคแรกที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน ปฏิบัติ ตาม คำชี้ขาด ตาม ที่ผู้ร้อง ขอ ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย

พิพากษากลับ ให้ยก คำร้องขอ ของ ผู้ร้อง

หมายเลขคดีดำศาลฎีกา nan

แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ชื่อคู่ความ ผู้ร้อง - ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทพิพัฒน์ จำกัด ผู้ร้อง - ผู้ร้อง คัดค้าน ผู้ร้อง - กรมทางหลวง

ชื่อองค์คณะ สละ เทศรำพรรณ บุญศรี กองบุญ สมมาตร พรหมานุกูล

ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน nan

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
ติดต่อเราทาง LINE